Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

กระทู้ล่าสุด

#11
อพท. จับมือ มทร.ศรีวิชัย ร่วมพัฒนาระบบบริหารจัดการสู่การเป็นต้นแบบระบบนิเวศการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

 (16 กุมภาพันธ์ 2567) ณ โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดกิจกรรมการจัดแสดงนิทรรศการโครงการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Carrying Capacity) และพัฒนาระบบบริหารจัดการสู่การเป็นต้นแบบระบบนิเวศการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยมี ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวต้อนรับ นายสมเกียรติ อำนวยสุวรรณ รองผู้จัดการ อพท.ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายรังษี รัตนปราการ นายกภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม นางเลขา สุวรรณชาตรี วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา ผศ.อุดร นามเสน รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นักวิจัย ตลอดจนองค์กรภาครัฐ – เอกชน และภาคีเครือข่ายพี่น้องประชาชนเข้าร่วม

สำหรับโครงการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Carrying Capacity) และพัฒนาระบบบริหารจัดการสู่การเป็นต้นแบบระบบนิเวศการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) เพื่อให้พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามขีดความสามารถในการรองรับ และช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่ไม่ถูกทำลาย เกิดเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามแนวทางของเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) และเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

โดยภายในงานมีการนำเสนอผลการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 3 แหล่ง 3 มาตรการ ได้แก่
- พื้นที่ทะเลน้อย ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ใช้มาตรการลดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ
- พื้นที่เกาะหมาก ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ใช้มาตรการการท่องเที่ยวแผนพัฒนาการท่องเที่ยวตำบลเกาะหมาก จังหวัดพัทลุง
- พื้นที่เมืองเก่าสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ใช้มาตรการเปลี่ยนจุดห้ามจอดเป็นจุดเช็คอิน
สำหรับการคัดเลือกมาตรการมาใช้นั้นได้จากผลการศึกษาดำเนินการนำร่องการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรมและเป็นแนวปฏิบัติที่ดี

นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า "จังหวัดสงขลา ได้พัฒนาเรื่องการท่องเที่ยว พร้อมทั้งขับเคลื่อนสงขลาสู่การเป็นเมืองมรดกโลก การจัดโครงการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Carrying Capacity) และพัฒนาระบบบริหารจัดการสู่การเป็นต้นแบบระบบนิเวศการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งหากมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก แต่ทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนที่มีอยู่ไม่เข้มแข็ง ก็จะเกิดความไม่สมดุลได้ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย รวมทั้งท้องถิ่น/ท้องที่ ภาคีเครือข่ายพี่น้องประชาชนได้ร่วมกันศึกษาเรื่องดังกล่าว ตามเป้าหมายการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระดับโลก คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

รวมทั้งการใช้ทรัพยากรในระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำหรือทางบก ที่จะต้องสมดุลกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพราะฉะนั้นเรื่องการศึกษาความสามารถในการรองรับ ก็จะเป็นเรื่องสำคัญทั้งการเตรียมการไม่ว่าจะเป็นการผลักดันสงขลาสู่เมืองมรดกโลกหรือการรองรับนักท่องเที่ยว จะเห็นได้ว่าจังหวัดสงขลามีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเยอะที่สุดติดอันดับของประเทศ เพราะฉะนั้นตามนโยบายของรัฐบาลในเรื่องของสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เราจำเป็นต้องส่งเสริมและสนับสนุนบวกกับต้องมีความพร้อมของพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคส่วนของพี่น้องประชาชนด้วย"
       
ด้าน ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวว่า มทร.ศรีวิชัย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณสนับสนุนโครงการจาก อพท. โดยมีหน้าที่ในการศึกษาขีดความสามารถของชุมชนในแต่ละพื้นที่ การลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชุมชน และทำงานร่วมทุกภาคส่วนนื้ที่ โดยภายในงานวันนี้มีการนำเสนอผลการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 3 แหล่ง 3 มาตรการ และการคัดเลือกมาตรการที่ได้จากผลการศึกษาดำเนินการนำร่องการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรมและเป็นแนวปฏิบัติที่ดีและยั่งยืนต่อไป
#12
เสริมแหนบ แต่งโช้ค สำหรับปิคอัพสายบรรทุก ธีระการช่าง...ทำได้

รถกระบะ รถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ มีปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มการบรรทุกและช่วยการทรงตัวของรถคือ ช่วงล่าง โช้คอัพ แหนบ เพลาลอย ล้วนมีความสำคัญต่อการทรงตัวของรถทั้งสิ้น หากไม่ประกอบด้วยอะไหล่คุณภาพ ช่างผู้ชำนาญงาน อาจส่งผลต่อการทรงตัวของรถได้

ธีระการช่าง เราคือผู้นำด้านโช้คอัพรถยนต์ การเสริมแหนบรถกระบะเพื่อเพิ่มน้ำหนักการบรรทุกให้ได้มากขึ้นนั้น สำหรับการบรรทุกไม่เกิน 3 ตัน สามารถทำได้โดยไม่ต้องใส่เพลาลอย ช่วยประหยัดค่าใช่จ่าย ลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการได้ โดยที่ร้านของเรามีแหนบเสริมสำหรับการบรรทุก มีช่างผู้ชำนาญงานคอยให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า

ร้านธีระการช่าง ให้บริการงานซ่อมรถยนต์ โช้คอัพ ช่วงล่าง เบรก คลัชท์ เกียร์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถยนต์ทุกชนิด ด้วยเครื่องมือทันสมัย ทีมช่างมีประสบการณ์ ร้านอยู่เยื้องห้างบิ๊กซีคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดบริการทุกวันจันทร์ – เสาร์ 08.00 – 17.00 น.  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร/ไลน์ 0864910345

ทุกปัญหาเรื่องรถยนต์ คิดอะไรไม่ออกบอกธีระการช่าง 
#ธีระการช่าง #โช้ครถยนต์ไฟฟ้า #โช้คเนต้า #แต่งรถยนต์ #ซ่อมรถยนต์หาดใหญ่ #โช้คอัพภาคใต้
--------------
สาระน่ารู้เกี่ยวกับแหนบ
แหนบ คือ เหล็กสปริงที่ช่วยในการรับน้ำหนักยืดหยุ่นและทำให้เกิดความนิ่มนวลแก่ผู้ใช้รถวัตถุดิบที่ใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากเป็นเหล็กพิเศษซึ่งมีสปริงอยู่ในตัว เมื่อกดแล้วจะสปริงคืนตัว แหนบสปริงไม่ใช่เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้าง ประเทศไทยยังไม่ได้ผลิตเหล็กแหนบสปริง  มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ผลิตเหล็กแหนบสปริงได้

การทำงานของแหนบ
ทำงานโดยอาศัยการโค้งงอหรือแอ่นของแผ่นเหล็กสปริงซึ่งโค้งเป็นรูปวงรี (Semi-Ellipse) โดยติดตามแนวยาวกับตัวรถทั้งสองข้างล้อๆ ละตับ หรือติดขวางกับตัวรถแล้วแต่ผู้ออกแบบ

แหนบตับ (Multileaf Spring)
ประกอบด้วยแหนบหลายแผ่นที่มีขนาดความยาวแตกต่างลดหลั่นกันตามลำดับวางซ้อนกันเป็นตับ  ตรงกลางมีรูโดยการใช้สกรูยึดให้ทุก ๆ แผ่นติดกัน สกรูยึดนี้ เรียกว่าสะดือแหนบ (Center bolt) เมื่อล้อเต้นขึ้นลงหรือตกหลุม ทำให้แหนบเด้งขึ้นลงตาม ส่วนปลายแหนบก็จะอ้าออกจากกัน  เพื่อป้องกันการแยกออกของแผ่นแหนบ จึงจำเป็นต้องมีเหล็กรัดแหนบ (Rebound Cilps) หรือที่เรียกว่า "แหนบตัวรัด" ลักษณะของแหนบตัวที่หนึ่งจะมีลักษณะเป็นตัวยาวที่ปลายทั้งสองข้างม้วนเป็นวงกลมเรียกว่า "ตัวหู" (Spring eyes) เป็นตัวยึดกับโครงรถโดยมีบู๊ชหูแหนบ (Bushings) มีหน้าที่ช่วยป้องกันหูแหนบสึกเร็ว 

ซึ่งบู๊ชส่วนมากทำด้วยยางและทองเหลือง  ส่วนสลักแหนบ (Spring Bolts) เป็นตัวยึดตรึงให้แหนบอยู่กับที่และรับแรงทางด้านต่าง ๆ จากเพลาล้อผ่านแหนบเข้าสู่โครงรถ เช่น แรงจากการเบรก ทำให้แรงจากเบรกล้อผ่านแหนบเข้าสู่โครงรถ เป็นต้น ส่วนปลายแหนบอีกด้านหนึ่งจะมีโตงเตงหูแหนบ (Spring shackle) เป็นตัวแขวนแหนบเข้ากับเต้าโตงเตงหูแหนบ (Shackle Bracket) ซึ่งยึดแน่นกับโครงรถ โตงเตงหูแหนบสามารถโยกแกว่งไปมาบนเต้าโตงเตง หรือที่เรียกว่า ตุ๊กตา ทำให้แหนบสามารถยืดเข้าออกได้ เพราะขณะรับน้ำหนักภาระต่าง ๆ แหนบจะแอ่นตัวและความยาวเพิ่มขึ้น ขณะที่ล้อลงหลุม แหนบจะฟรีไม่รับน้ำหนัก ความยาวของแหนบจะลดลง เพราะความโค้งของแหนบที่ได้รับการออกแบบไว้

แหนบบางตับจะเพิ่มความแข็งแรงให้กับหูแหนบโดยการม้วนปลายทั้งสองข้างของแผ่นที่สองให้รัดครอบ หูแหนบของแผ่นแรกเรียกว่า 2 งอ และถ้าจะให้แข็งแรงมากขึ้นก็ควรเสริมตัวตรงอีก 1 ตัว (สำหรับรถใช้บรรทุกหนัก) 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก www.yongkee.com
#13
โรงไฟฟ้าจะนะเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานฯ ณ โรงเรียนวัดช่องเขา 

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567  ผู้ปฏิบัติงานโรงไฟฟ้าจะนะ  และพนักงานจ้างเหมาเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานเพื่อสร้างความตระหนักรู้สู่สังคม โดยร่วมกันทำความสะอาด กวาดขยะ ตัดหญ้า ปรับภูมิทัศน์โดยรอบ  ณ โรงเรียนวัดช่องเขา หมู่ที่ 4 ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

ภาพ : สุธิพร/นิธิวดี
ข่าว : ธัญนุช
#14
ข่าวสงขลา / กฟผ. ออกบูธนิทรรศการในงาน SITE...
กระทู้ล่าสุด โดย สงขลามีเดีย - 09:29 น. วันที่ 14 02 67
กฟผ.ออกบูธนิทรรศการในงาน SITE 2024 มหกรรมด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคใต้

เมื่อวันที่ 1 – 4 กุมภาพันธ์ 2567 กฟผ. ร่วมออกบูธนิทรรศการในงาน Southern Innovation and Technology Expo 2024 (SITE 2024) ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ซึ่งในงานได้รวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านพลังงาน ดิจิทัล อาหารและการเกษตร และสุขภาพ เพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมเส้นทางสู่ความสำเร็จสำหรับนักลงทุน SMEs และนักวิจัยผ่านการออกบูธและกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ

โดยภายในงานเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 นายชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน (ชยย.) ได้กล่าวบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "EGAT's Mission to Sustainability : ไฟฟ้ามั่นคง เพื่อสังคมที่ยั่งยืน" และเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ได้รับเกียรติจากนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบเกียรติบัตรเพื่อแสดงความขอบคุณในการสนับสนุนการจัดงาน และเยี่ยมชมบูธนิทรรศการของ กฟผ.

ทั้งนี้ กฟผ. ได้จัดแสดงนิทรรศการ "EGAT's Mission to Sustainability" เป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (EGAT Carbon Neutrality) ผ่านกลยุทธ์ Triple "S" พร้อมนำธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า Elex by Egat, Smart Energy Solutions นวัตกรรมจัดการพลังงาน เพื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมธุรกิจสีเขียว รวมถึงเชิญชวนหน่วยงานและผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ สมัครเข้าร่วมโครงการที่ปรึกษาพลังงาน และโรงแรมเบอร์ 5 เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกภาคส่วน

ภาพ : จิตวัต/เกตุวลี/ดนยา
ข่าว : จิตวัต
#15
ทอสเท็ม ตะลุยแดนใต้ เดินหน้าต่อเนื่อง โครงการ TOSTEM Knowledge Sharing จับมือคณะสถาปัตยฯ ม.อ.วิทยาเขตตรัง เสริมทักษะความรู้การออกแบบกรอบประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียม
 
TOSTEM Knowledge Sharing โครงการส่งเสริมทักษะ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบกรอบประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมสำเร็จรูป ที่จัดดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องให้กับนักศึกษามหาวิทยาชั้นนำของไทย ล่าสุด ทอสเท็ม พาตะลุยแดนใต้จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษให้กับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของระบบประตูหน้าต่าง วัสุดที่ใช้ในการผลิต ประเภทของประตู-หน้าต่าง รวมทั้งด้านงานดีไซน์การออกแบบ มาตรฐานของประสิทธิภาพขั้นพื้นฐาน ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมกรอบประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียม พร้อมเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เพิ่มพูนทักษะผ่านโปรแกรมการอบรมภาคปฎิบัติกับผู้เชี่ยวชาญ และร่วมทำเวิร์กช็อปแลกเปลี่ยนความรู้
 
นายวิชา วรสายัณห์ ลีดเดอร์ กลุ่มธุรกิจเฮาส์ซิ่งเทคโนโลยี บริษัท แอล เอช ที เอเซีย เซลส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมแบรนด์ ทอสเท็ม (TOSTEM) เปิดเผยว่า สำหรับโครงการ TOSTEM Knowledge Sharing เป็นโครงการที่มุ่งหวังในการส่งเสริมทักษะ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบกรอบประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมสำเร็จรูปให้กับนักศึกษามหาวิทยาชั้นนำของไทย ซึ่งได้ดำเนินการจัดกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยในครั้งนี้ทาง TOSTEM ได้มาเยือนถิ่นแดนใต้ จัดกิจกรรมให้กับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง โดยจัดให้มีการบรรยายพิเศษในวิชาวัสดุและการก่อสร้างประยุกต์ (Applied Construction Materials) พร้อมจัดกิจกรรม เวิร์กช็อป ในกิจกรรม TOSTEM Knowledge Sharing at PSU ในหัวข้อเรื่อง "ระบบวัสดุประเภทประตูหน้าต่าง และการออกแบบวัสดุประเภทอะลูมิเนียม" โดยเนื้อหาที่ทาง TOSTEM เตรียมมาให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 1. ประวัติ และความเป็นมาของระบบประตู-หน้าต่าง 2. ประโยชน์ใช้สอยพื้นฐานของประตู-หน้าต่าง 3. วัสดุที่นิยมใช้ในการผลิตประตู-หน้าต่าง 4. ประเภทและการใช้งานของประตู-หน้าต่าง 5. ประสิทธิภาพขั้นพื้นฐานและมาตรฐานของประตู-หน้าต่าง 6. ดีไซน์ และการออกแบบ พร้อมกิจกรรม Product Assembling Workshop ให้นักศึกษาได้ทดลองประกอบชิ้นงานผลิตภัณฑ์จริง
 
อาจารย์วรวุฒิ มัธยันต์ รักษาการแทน Liรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง กล่าวว่า สำหรับการจัดกิจกรรมบรรยายพิเศษ ในโครงการ TOSTEM Knowledge Sharing at PSU ในครั้งนี้ เป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ สำหรับนักศึกษาที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ เนื่องจากได้มีโอกาสเรียนรู้ เสริมทักษะ ความเข้าใจต่างๆ ในเรื่องของกรอบประตู-หน้าต่าง จากผู้เชี่ยวชาญตัวจริงอย่าง TOSTEM ผู้ผลิตประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม ได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการทำงานจริง ทั้งในเชิงวิชาการที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา ประเภทของวัสดุที่เลือกใช้ และเรื่องของมาตรฐานต่างๆ ในส่วนภาคปฏิบัติก็ได้มีโอกาสในการทดสอบกับตัวผลิตภัณฑ์จริง ได้สัมผัสวัสดุจริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับตัวนักศึกษา และสามารถนำไปต่อยอดในการเรียน และไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงานจริงต่อไป
 
นางสาววารินทร์ ศรีหะรัญ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมบรรยายพิเศษ ในโครงการ TOSTEM Knowledge Sharing at PSU ในครั้งนี้ เป็นประโยชน์กับนักศึกษามากๆ สามารถนำความรู้ และทักษะ ที่ได้จากกิจกรรมในครั้งนี้มาปรับใช้ในวิชาเรียนที่ตน และเพื่อนๆ กำลังศึกษาอยู่ และรู้สึกประทับใจกับช่วงกิจกรรม Workshop ที่ได้ลงมือทำ ได้ลองประกอบสินค้าจริง และยังได้เรียนรู้ในเรื่องงานกรอบประตู-หน้าต่าง ทั้งในเรื่องประวัติความเป็นมาของประตู-หน้าต่างในแต่ละยุค ประเภทของวัสดุต่างๆ ที่นำมาใช้ในการผลิต ประเภทของประตู-หน้าต่างในปัจจุบันมีกี่ประเภทบ้าง และความสำคัญของประสิทธิภาพ และมาตรฐานในการตรวจสอบที่ใช้ในการผลิต รวมไปถึงเรื่องของการดีไซน์ การออกแบบ ซึ่งต้องขอขอบคุณทางอาจารย์ และทาง TOSTEM ที่จัดกิจกรรมดีๆ แบบนี้ และอยากให้มีกิจกรรมดีๆ แบบนี้อีก เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มาทดลอง ได้เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง นับเป็นประสบการณ์ที่ดีมากที่ได้เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ค่ะ
 
โครงการ TOSTEM Knowledge Sharing ตั้งเป้าที่จะดำเนินการจัดกิจกรรมให้กับมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันการศึกษาที่สนใจทั่วประเทศ เพื่อเป็นการช่วยยกระดับการทำงานของนักออกแบบ และสถาปนิก รุ่นใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ ทักษะต่างๆ และเทคโนโลยี ของ TOSTEM ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมสำเร็จรูป ให้กับนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย  เพื่อนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคต เป็นการยกระดับการทำงาน เพิ่มพูนองค์ความรู้ ทักษะ รวมถึงเรื่องของนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในท้องตลาด ทั้งในเรื่องของการออกแบบดีไซน์ และการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพบเจอในชีวิตการทำงานจริงในสายอาชีพของ นักออกแบบ หรือสถาปนิก
 
TOSTEM Knowledge Sharing พร้อมเปิดโอกาสให้กับน้องๆ นักศึกษา และสถาปนิกรุ่นใหม่ที่สนใจ เรียนรู้ เสริมทักษะเรื่องกรอบประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียม โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมนสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณธารารัตน์ เงินชารี ฝ่ายการตลาด TOSTEM เบอร์โทร 02-901-4455 ต่อ 4221, 098-991-4692
#16
โรงไฟฟ้าจะนะ เป็นตัวแทน กฟผ. ร่วมงานประชุม The 49th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT49)
เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 นายชนาธิป  ชิตพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าจะนะ และนายนพรัตน์ เดิมคลัง หัวหน้ากองเดินเครื่อง เป็นตัวแทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าร่วมงานประชุม The 49th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT49)  ภายใต้หัวข้อ "SDGs FOR THE BENEFIT OF MANKIND" ซึ่งจัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นอกจากนี้ยังมีการเชิญ อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้สนใจทั้งภายในและต่างประเทศ นำเสนอผลงานวิจัย และเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังข้อมูลใหม่ๆ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยและต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 23 – 25 มกราคม 2567 ณ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่ และ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี จังหวัดสงขลา

ภาพ/ข่าว : ธัญนุช
#17
NAT  ล่องใต้เดินหน้าให้ข้อมูลนักลงทุนโชว์ศักยภาพธุรกิจ โอกาสเติบโตสูง
            วันพุธที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 18.30 – 20.30 น. ณ โรงแรมลีการ์เด้นส์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา    บริษัท แนท แอบโชลูท เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NAT ผู้เชี่ยวชาญด้าน Infratech ส่วนงานโครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผนึก APM – FSS เดินสายโรดโซว์นำเสนอข้อมูลธุรกิจ และ ข้อมูลทางการเงิน แก่นักลงทุน 10 จังหวัดทั่วประเทศ วันที่ 15 – 26 ม.ค. 2567 ที่ปรึกษาการเงิน มั่นใจพื้นฐานธุรกิจแข็งแกร่ง นักลงทุนให้ความสนใจ ก่อนเตรียมขายไอพีโอ 92 ล้านหุ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ mai
             นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเขท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ APM ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท แนท แอบโซลูท เทคโนโลยีส จำกัด (มหาชน) หรือ NAT เปิดเผยว่า บริษัทมีความพร้อมที่จะนำเสนอข้อมูลกับนักลงทุน หรือ โรดโชว์ เพื่อเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก หรือ IPO จำนวน 92 ล้านหุ้น โดยมีกำหนดการเดินทางทั้งสิ้น 10 จังหวัด ได้แก่ ซลบุรี นครปฐม ราชบุรี พิษณุโลก นครสวรรค์  นครราชสีมา ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา และ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 15 มกราคม – 26 มกราคม 2567
             นางสาวมธุรส สาราณียะธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM)     ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า บริษัทมั่นใจว่าจะได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากนักลงทุน เพราะ NAT ถือเป็นธุรกิจที่มีความโดดเด่น เนื่องจากมูลค่าตลาดของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ระบบการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ในระดับองค์กรที่มีอัตราการเติบโตสูง ขณะที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เป็นฐานลูกค้าของ NAT ต่างมีแผนปรับปรุงระบบเพื่อพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นโอกาสของบริษัทที่จะนำเสนอสินค้า บริการ และ โซลูชันทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างมูลค่าการเติบโตได้อีกมาก
     ปัจจุบันบริษัท แนท แอบโซลูท เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NAT มีทุนจดทะเบียน 164 ล้านบาท มูลคำที่ตราไว้ (พาร์ หุ้นละ 0.50 บาท และ มีทุนที่เรียกชำระแล้ว 118 ล้านบาท โดยจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (PO) จำนวน 92 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 28.05% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัท และ จะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
            นายสุธี อภิชนรัตนกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แนท แอบโซลูท เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ NAT เปิดเผยว่า บริษัทเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Infratech มุ่งเน้นการประกอบธุรกิจบริการให้คำปรึกษา ออกแบบจัดหา จำหน่ายอุปกรณ์พร้อมติดตั้ง และ รับเหมาวางระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology System Integration) ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับโลก และให้บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น บริการเจ้าหน้าที่ไอที (IT Outsourcing) บริการเดินสายระบบเน็ตเวิร์ค (Cabling System) บริการงานด้านระบบภายในอาคาร(Mechanical and Electric : M&E) และ บริการให้เช่าอุปกรณ์ในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับใช้ภายในสำนักงาน
            ทั้งนี้ กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทที่เป็นหน่วยงานภาครัฐโดยมีสัดส่วนประมาณ 85% ที่มีแผนการลงทุนด้าน โครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทเติบโต และมีความสามารถในการทำกำไรให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม
        ขณะที่ผลประกอบการย้อนหลังช่วงปี 2563 – 2565 บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 492.64 ล้านบาท 451.36 ล้านบาท และ 1,093.23 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 56.78 ล้านบาท 26.68 ล้านบาท และ 100.62 ล้านบาท ตามลำดับ โดยบริษัทมีรายได้เติบโตเป็นไปตามแผนจากการเข้ารับงานภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผลประกอบการงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 บริษัทมีรายได้รวม 1,232.7 1 ล้านบาท กำไรสุทธิ 97.50 ล้านบาท"หลังจากการระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะสามารถขยายธุรกิจและให้บริการ เพิ่มศักยภาพการแข่งชันและ การเข้ารับงานโครงการต่าง ๆ กับกลุ่มลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชนอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้บริษัทมีความพร้อมในการนำเสนอข้อมูลให้แก่นักลงทุนทั่วประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจในธุรกิจและการเติบโตของบริษัท รวมถึงแนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม และ ความต้องการพัฒนาระบบเทคโนโลยีในการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุค Digital Transformation ได้เป็นอย่างดี" นายสุรี กล่าว
#18
โรงไฟฟ้าจะนะให้ความอนุเคราะห์ห้องประชุมแก่เครือข่ายชมรมครูผู้ดูแลเด็กอำเภอจะนะ
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 โรงไฟฟ้าจะนะให้ความอนุเคราะห์ห้องประชุมแก่เครือข่ายชมรมครูผู้ดูแลเด็กอำเภอจะนะ ในการจัดกิจกรรมวันครูแห่งชาติ ประจำปี 2567 ให้กับครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอจะนะ เพื่อสนองตอบนโยบายของรัฐบาลที่ได้กำหนดให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี เป็นวันครูแห่งชาติ และให้ครูได้มีโอกาสมาทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมทั้งมอบประกาศเกียรติคุณให้กับครูดีเด่นที่อุทิศตนให้กับการจัดการเรียนการสอนด้วย โดยมีนายนายวิญญู  สิงห์เสม ท้องถิ่นจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธี
#19
อุตสาหกรรมสงขลาร่วมกับท้องถิ่น-เอกชน จัดปล่อยปลาและปลูกต้นทองอุไรที่คลองแงะ สะเดา

เมื่อวันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2567  ณ บริเวณฝาย 935 ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา "สส.น้ำหอม" นางสาวสุภาพร กำเนิดผล  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขต 6  พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานเปิดกิจกรรมปล่อยปลาและปลูกต้นทองอุไร โดยมีนางจันทร์จิรา บางเสน อุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา กล่าวรายงาน นายสุวัฒ เลิศจิตต์ธรรม  นายกเทศมนตรีตำบลคลองแงะ กล่าวต้อนรับ
พร้อมกันนี้ยังมี นายเจริญ โอมณี  ประมงจังหวัดสงขลา ผู้แทนนายอำเภอสะเดา ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพังลา รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปริก กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น-ท้องที่ ตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนบ้านคลองแงะ โรงเรียนกอบกุลวิทยาคม โรงเรียนวงศ์วิทย์ ผู้ประกอบการในพื้นที่ แขกผู้มีเกียรติ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากหลายภาคส่วน
สส.น้ำหอม กล่าวว่า "ตามที่อุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ได้กล่าวรายงานเกี่ยวกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีการผลักดันนโยบาย MIND ใช้ "หัว" และ "ใจ" ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ผ่านกิจกรรม "อุตสาหกรรมรวมใจ : ดูแลสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน" ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในฐานะผู้แทนราษฎร มีความตระหนักในเรื่องนี้ และเห็นว่านโยบายดังกล่าว สอดคล้องกับแนวความคิดของนายเดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่ต่อสู้เรื่องสิ่งแวดล้อม โดยชูนโยบายการปกป้องสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้นๆ มาตลอด
วันนี้เป็นนิมิตรหมายที่ดี ทีเห็นความร่วมมือร่วมใจของภาคอุตสาหกรรมในอำเภอสะเดา ในการร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เหมือนกับที่เราเน้นย้ำมาตลอดว่า "ผู้ประกอบการอยู่ได้พี่น้องประชาชนก็ต้องอยู่ได้" และเชื่อมั่นว่าพันธุ์ปลาที่ถูกปล่อยลงสู่คลอง ต้นทองอุไรที่ปลูกลงสู่ดิน จะสร้างคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้"
โดยในวันนี้ผู้ร่วมงานได้ร่วมกันปล่อยพันธุ์ปลาที่ได้รับการสนับสนุนจากประประมงจังหวัดสงขลา และการปลูกต้นทองอุไร จากผู้ประกอบการโณงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ร่วมสนับสนุน โดยเทศบาลตำบลคลองแงะ จะเป็นผู้ดูแลสานต่อการดูแลต้นไม้และสายน้ำต่อไป
#20
สงขลาสนทนา / 11 เทศบาลในจังหวัดสงขลา ที่ไม่...
กระทู้ล่าสุด โดย ฅนสองเล - 09:02 น. วันที่ 27 12 66
11 เทศบาลในจังหวัดสงขลา ที่ไม่ได้มีชื่่อเดียวกับตำบลที่ตั้ง

จังหวัดสงขลา มี 16 อำเภอ 127 ตำบล ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 141 แห่ง 1 อบจ. 2 ทน. 11 ทม. 35 ทต. และ 92 อบต. โดยมีหลายท้องถิ่นที่ยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล ทำให้มีท้องถิ่นซ้ำในตำบลเดียวกันหลายพื้นที่ และมีท้องถิ่นที่มีไม่เหมือนกับตำบลที่ตั้งจำนวน 11 แห่ง ดังนี้ (ในวงเล็บคือชื่อของท้องถิ่นอีกแห่งในตำบลเดียวกัน) 

1.เทศบาลนครสงขลา ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา
2.เทศบาลเมืองสิงหนคร ครอบพื้นที่ ต.หัวเขา ต.สทิงหม้อ และบางส่วนของต.ชิงโค และต.ทำนบ (อบต.ชิงโค ,อบต.ทำนบ)
3.เทศบาลตำบลจะนะ ต.บ้านนา อ.จะนะ (ทต.บ้านนา)
4.เทศบาลตำบลสทิงพระ ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ (อบต.จะทิ้งพระ)
5.เทศบาลตำบลนาสีทอง ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ (อบต.เขาพระ)
6.เทศบาลตำบลควนเนียง ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง (อบต.รัตภุมิ)
7.เทศบาลตำบลคลองแงะ ต.พังลา อ.สะเดา (อบต.พังลา)
8.เทศบาลตำบลปาดัง ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา (ทม.ปาดังเบซาร์)
9.เทศบาลตำบลนาทวีนอก ต.นาทวี อ.นาทวี (ทต.นาทวี)
10.เทศบาลตำบลท่าพระยา ต.สะบ้าย้อย อ.สะบ้าย้อย (ทต.สะบ้าย้อย)
11.เทศบาลตำบลบ้านไร่ ต.บ้านพรุ อ.หาดใหญ่ (ทม.บ้านพรุ)