Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

กระทู้ล่าสุด

#21
อำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุดของจังหวัดสงขลา ได้แก่?
หากถามว่าอำเภอไหนประชากรมากที่สุดของสงขลา ทุกคนต้องรู้แน่นอนว่าคือหาดใหญ่ แต่หากถามว่าน้อยที่สุดคงคิดกันนานหน่อย วันนี้พาไปอัพเดทจำนวนประชากรจังหวัดสงขลากันครับ
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดสงขลา ณ ปี 2566 จังหวัดสงขลา มีประชากร 1,431,959 คน โดยแบ่งตามรายอำเภอ 16 อันดับ ได้ดังนี้
1.อำเภอหาดใหญ่ 405,876 คน
2.อำเภอเมืองสงขลา 161,078 คน
3.อำเภอสะเดา 124,463 คน
4.อำเภอจะนะ 108,898 คน
5.อำเภอสิงหนคร 83,786 คน
6.อำเภอสะบ้าย้อย 81,335 คน
7.อำเภอเทพา 78,922 คน
8.อำเภอรัตภูมิ 75,682 คน
9.อำเภอนาทวี 69,096 คน
10.อำเภอระโนด 62,874 คน
11.อำเภอสทิงพระ 46,905 คน
12.อำเภอควนเนียง 34,273 คน
13.อำเภอบางกล่ำ 33,812 คน
14.อำเภอคลองหอยโข่ง 27,187 คน
15.อำเภอนาหม่อม 23,001 คน
16.อำเภอกระแสสินธุ์ 14,771 คน 

จังหวัดสงขลา แบ่งเขตปกครองท้องที่เป็น 16 อำเภอ 127 ตำบล 1,180 หมู่บ้าน 
#22
ทรงพระเจริญ
งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล พนักงานเทศบาล
ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง และพสกนิกรชาวเทศบาลนครหาดใหญ่
#23
มูลนิธิโรงเจเต๋าบ้อเก็ง หาดใหญ่ พร้อมจัดใหญ่งานไถ่ชีวิตโค 21-30 ก.ค.67

มูลนิธิโรงเจเต๋าบ้อเก็ง หาดใหญ่ ร่วมกับ เทศบาลเมืองคอหงส์ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน แถลงข่าวจัดงาน มหาบุญมหากุศล งานไถ่ชีวิตโค ครั้งที่ 16 เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสําเร็จธรรมองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม และวันคล้ายวันเกิดองค์มหาเทพกวนอู

วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ณ มูลนิธิโรงเจเต๋าบ่อเก็ง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเป็นประธาน ในพิธีแถลงข่าว "งานประเพณีไถ่ชีวิตโค ครั้งที่ 16 ประจำปี 2567" พร้อมด้วย นายธันยพงศ์ คงเจริญ เลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองคอหงส์ , นางสาวกษมา ราษฎร รองผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่,นายพิชัย วัฒนะพยุงกุล นายกสมาคมไทย-จีน จังหวัดสงขลา นายเอนก แซ่ตั้ง ประธานมูลนิธิโรงเจเต๋าบ้อเก็ง, อาจารย์เกียรติศักดิ์ วิเศษดอนหวาย เจ้าสำนักมูลนิธิโรงเจเต๋าบ้อเก็ง หาดใหญ่ และนายสุวิทย์ ตันรัตนากร ประธานการจัดงาน "งานประเพณีไถ่ชีวิตโค ครั้งที่ 16 ปี 2567 ร่วมแถลงข่าว

นายสุวิทย์ ตันรัตนากร กล่าวว่าในฐานะประธานจัดงานไถ่ชีวิตโค รู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติ เป็นประธานจัดงานประเพณีไถ่ชีวิตโคในปีนี้ และให้งานนี้ได้เป็นสะพานบุญอันยิ่งใหญ่ แก่เหล่ากัลยาณมิตรผู้ใจบุญทั่วทุกสารทิศ โดยปีนี้เราได้ไถ่ชีวิตโค จำนวนทั้งสิ้น ๓๗ ตัว ให้รอดพ้นจากการโดนเบียดเบียนชีวิต ซึ่งโคที่ได้ช่วยเหลือมานั้น ทางมูลนิธิจะได้มีการมอบให้แก่เกษตร ได้รับไปเลี้ยงดูแลต่อไป เพื่อได้ช่วยเหลือเกษตร  ในการประกอบสัมมาอาชีพ สร้างงานสร้างอาชีพ เป็นเสมือนบุญต่อบุญอันยิ่งใหญ่เกื้อกูลกัน เป็นกงล้อแห่งบุญอันไม่มีประมาณ

 ข้าพเจ้าเห็นถึงความตั้งใจ และปณิธานอันแรงกล้าของมูลนิธิโรงเจแห่งนี้ ตลอด 15ปีที่ผ่านมา ได้ช่วยเหลือโคทั้งสิ้นแล้วกว่า 420 ตัว มีนักบุญผู้ใจบุญทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลแวะเวียนมาทำบุญไม่ขาดสายข้าพเจ้า จะช่วยเหลือ สนับสนุน ให้สถานธรรมแห่งนี้ได้จัดงานประเพณีตรง ตามปณิธานของมูลนิธิ เจ้าสำนัก ให้มูลนิธิเป็นสถานธรรม คู่กับบ้านเมืองสืบไป

สำหรับพิธีสำคัญของงานปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 -30 กรกฎาคม 2567 มีพิธีบวงสรวงเนื่องในวันคล้ายวันสำเร็จธรรมขององค์โพธิสัตว์กวนอิม พิธีอัญเชิญเสา ,พิธีสรรเสริญเนื่องในวันคล้ายวันสำเร็จธรรมของพระโพธิสัตว์กวนอิม ,พิธีสักการะมหาเทพกวนอู และมอบโคแก่เกษตรกร จำนวน 37 ตัว อีกด้วย นอกจากนี้ จะมีพิธีสวดมนตร์สรรเสริญเพื่อความเป็นสิริมงคลทุกวันด้วย จึงขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมงานบุญใหญ่ ไถ่ชีวิตโค ถือศีล กินเจ ในระหว่างวันที่ 21 -30 กรกฎาคม 2567 ณ มูลนิธิโรงเจเต๋าบ้อเก็ง หาดใหญ่

สำหรับปีนี้เป็นปีที่ 16 ที่่มูลนิธิโรงเจเต๋าบ้อเก็ง หาดใหญ่ ได้ร่วมกับ เทศบาลเมืองคอหงส์ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดงาน มหาบุญมหากุศล งานไถ่ชีวิตโค เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสําเร็จธรรมองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม และวันคล้ายวันเกิดองค์มหาเทพกวนอู เพื่อเป็นการเชิดชูและระลึกถึงพระเมตตาธรรมขององค์พระโพธิสัตว์ที่มีต่อมวลมนุษย์ และเปิดโอกาสให้ท่านทั้งหลายร่วมกันสวดมนต์ถือศีล กินเจ สร้างบุญกุศลโดยการ ไถ่ชีวิตโค และยังได้มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียน ร่วมสนับสนุนภารกิจของ หน่วยกู้ชีพ-กู้ภัย มัชฌิมา มูลนิธิโรงเจเตำข้อเก็ง หาดใหญ่ ร่วมเป็นเจ้าภาพอาหารเจผู้มาร่วมบุญตลอดงานอีกด้วย

สำหรับกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 21- 30 กรกฎาคม 2567 มีกิจกรรมตลอดงาน ประกอบด้วย พิธีขึ้นเสาพิธี , พิธีปล่อยสัตว์น้ำ ณ อ่างเก็บน้ำแก้มลิงบ้านในไร่ , พิธีอีญเชิญองค์พระมหาโพธิสัตว์กวนอิมและเหล่าเทพโปรดสัตว์รอบเมือง , พิธีอุทิศบุญกุศลแก่สรรพสัตว์และวิญญาณไร้ญาติ , พิธีสักการะบูชาองค์มหาเทพกวนอู , พิธีมอบทุนการศึกษา , พิธีไถ่ชีวิตโค โดยมอบโคให้แก่เกษตรกร จำนวน 37 ตัว โดยจะมีการคัดเลือก และพิจารณาเกษตรกรตามคุณสมบัติ คือ ต้องมีความพร้อมเลี้ยงดูโค , ห้ามฆ่า ห้ามขายโคที่ได้รับและหากโคที่ได้รับกำเนิดลูกเพศเมียตัวแรกต้องส่งเข้าสู่โครงการสายใยรัก ของทางมูลนิธิฯ เพื่อนำโคมอบให้เกษตรกรต่อไป
#24
โรงไฟฟ้าจะนะร่วมกิจกรรม "โครงการกินน้ำชายามเช้า - กินข้าวยำสัญจร" ประจำเดือน กรกฎาคม 2567

วันอังคารที่ 9  กรกฎาคม 2567 โรงไฟฟ้าจะนะ นำโดยนายชนาธิป  ชิตพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าจะนะ พร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงานโรงไฟฟ้าจะนะ  ร่วมกิจกรรม "โครงการกินน้ำชายามเช้า - กินข้าวยำสัญจร" ประจำเดือน กรกฎาคม 2567  ณ หาดวังหนาว  ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา  โดยมี นายกเทศมนตรีตำบลนาทับ เป็นเจ้าภาพและกล่าวต้อนรับ และมีนายกฤชณัทท  พลรัตน์  นายอำเภอจะนะ เป็นประธานในพิธี  ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้นำหน่วยกำลังในพื้นที่ ประธานเครือข่ายสถานศึกษา  ผู้บริหารสถานศึกษา นายกเทศมนตรีตำบลทุกแห่ง  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล องค์กรเครือข่ายในพื้นที่  ผู้จัดการบริษัท ปลัดอำเภอ ประธานคณะกรรมการบริหารชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอจะนะ ภาคเอกชนและเจ้าของกิจการห้างร้านเอกชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียงกัน
ภาพ :  ดนยา
ข่าว : เกตุวลี
#25
โรงไฟฟ้าจะนะ ร่วมงานรับโล่รางวัลระดับทอง ปีที่ 1  กิจกรรมการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ ประจำปี 2567 (Zero Accident Campaign 2024)

3  กรกฎาคม 2567 นายตฤณ  สีสุข  หัวหน้ากองบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าจะนะ พร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงานโรงไฟฟ้าจะนะ  เป็นตัวแทนคณะผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานโรงไฟฟ้าจะนะ ร่วมงานสัมมนาวิชาการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในส่วนภูมิภาค จังหวัดสงขลา ประจำปี 2567 และการรับโล่รางวัลระดับทอง ปีที่ 1  กิจกรรมการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ ประจำปี 2567 (Zero Accident Campaign 2024) ณ โรงแรมบุรีศรีภู อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีนายสมนึก พรหมเขียว  ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นผู้กล่าวต้อนรับ  นายบัญชา  ศรีธนาอุทัยกร รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กล่าวรายงาน และนายพิพัฒน์  รัชกิจประการ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมีกระทรวงแรงงานและหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน และหน่วยงานด้านความปลอดภัยเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ภาพ :  ดนยา
ข่าว :  เกตุวลี
#26
ข่าวสงขลา / ร่วมพบปะผู้นำศาสนาอิสลาม-ครูศู...
กระทู้ล่าสุด โดย ฅนสองเล - 10:46 น. วันที่ 02 07 67
ร่วมพบปะผู้นำศาสนาอิสลาม-ครูศูนย์อบรมและจริยธรรมประจำมัสยิดพื้นที่อำเภอรัตภูมิ-ควนเนียง
#นายกชาย สส.เดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา ร่วมพบปะพี่น้องผู้นำศาสนาอิสลามและผู้เข้าร่วมโครงการอบรมสัมมนา ครูศูนย์อบรมและจริยธรรมประจำมัสยิด สังกัดหน่วยสอบที่ 61 อำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง ณ มัสยิดดารุสลาม บ้านเขารักเกียรติ ม.12 ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา จัดโดย สมาคมคุรุสัมพันธ์อิสลามแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
โอกาสนี้ #นายกชาย ได้กล่าวขอบคุณพี่น้องผู้นำศาสนาอิสลามที่เสียลสละในการดูแลเด็กและเยาชนในพื้นที่อย่างเข้มแข็งมายาวนาน ในฐานะ สส. ในฐานะลูกรัตภูมิ ก็พร้อมให้การสนับสนุนทุกด้านอย่างเต็มที่ ในส่วนของการผลักดันโครงการตามความต้องการของพี่น้องก็ทำอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยที่แล้ว และในสมัยนี้แม้เป็นฝ่ายค้านก็ยังทำงานหนักกว่าเดิม ในเร็วๆ นี้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของถนนเพชรเกษมสายเก่าตลอดสายแน่นอน และหากมีโอกาสเป็นรัฐมนตรี ก็จะประสานการพัฒนาพื้นที่สงขลา พื้นที่ภาคใต้ เป็นลำดับต้นๆ เนื่องจากพื้นที่ของเราเสียโอกาสนมานานแล้ว   
#27
อำเภอที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดสงขลา ได้แก่?
จังหวัดสงขลามีพื้นที่ 7,394 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,621,250 ไร่ แบ่งเป็น 16 อำเภอเรียงตามขนาดเล็กไปหาใหญ่ ได้ดังนี้
16. อำเภอกระแสสินธุ์ มีเนื้อที่ 96.4 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 60,250 ไร่
15. อำเภอสทิงพระ มีเนื้อที่ 120 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 75,000 ไร่
14. อำเภอบางกล่ำ มีเนื้อที่ 147.8 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 92,375 ไร่
13. อำเภอนาหม่อม มีเนื้อที่ 149.5 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 93,437.5 ไร่
12. อำเภอเมืองสงขลา มีเนื้อที่ 171.9 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 107,437.5 ไร่
11. อำเภอควนเนียง มีเนื้อที่ 208 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 130,000 ไร่
10. อำเภอสิงหนคร มีเนื้อที่ 228 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 142,500 ไร่
9. อำเภอคลองหอยโข่ง มีเนื้อที่ 274 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 171,250 ไร่
8. อำเภอจะนะ มีเนื้อที่ 502.9 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 314,312.5 ไร่
7. อำเภอรัตภูมิ มีเนื้อที่ 591.8 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 369,875 ไร่
6. อำเภอนาทวี มีเนื้อที่ 747 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 466,875 ไร่
5. อำเภอระโนด มีเนื้อที่ 783 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 489,375 ไร่
4. อำเภอหาดใหญ่ มีเนื้อที่ 852.7 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 532,937.5 ไร่
3. อำเภอสะบ้าย้อย มีเนื้อที่ 852.8 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 533,000 ไร่
2. อำเภอเทพา มีเนื้อที่ 978 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 611,250 ไร่
1. อำเภอสะเดา มีเนื้อที่ 1,029.2 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 643,250 ไร่
#28
สรรเพชญ-พิทักษ์เดช ไขลานจี้ภูมิธรรม แก้ปัญหาประมง-ราคากุ้งตกต่ำเร่งด่วนที่สุด
.
นายสรรเพชญ บุญญามณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่าภายหลังจากที่ได้รับข้อร้องเรียนจากสมาคมประมงจังหวัดสงขลา อันเนื่องมาจากได้รับผลกระทบจากมาตรการภาครัฐตั้งแต่ปี 2558 ในการออกคำสั่งเกี่ยวกับการเดินเรือซึ่งเกินกว่าที่ IUU กำหนด ส่งผลให้ชาวประมงได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ซึ่งสมาคมชาวประมง จังหวัดสงขลา นำโดย ดร.สุรเดช นิลอุบล นายกสมาคมฯ ได้ร้องเรียนมายังตนให้ช่วยติดตาม เร่งรัดการเยียวยาในโครงการรับซื้อเรือคืนเพราะชาวประมงกำลังรอการเยียวยาจากรัฐบาล ตนจึงได้ตั้งกระทู้ถามไปยังนายกรัฐมนตรีควบคู่กับทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ให้ผลักดันโครงการนำเรือออกนอกระบบไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้รับการตอบกลับเพื่อแจ้งผลจากอธิบดีกรมประมงว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการในการสำรวจ การตั้งคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่ได้รับผลกระทบ
.
ซึ่งหากย้อนไปดูแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐบาล รัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล เพื่อฟื้นฟูการประมงทะเลและอุตสาหกรรมการประมง โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน มีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการคนที่ 1 มีนายปลอดประสพ สุรัสวดี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประมง รองประธานกรรมการคนที่ 2 และมีผู้แทนซึ่งจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีก 19 คนเป็นกรรมการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 และมาจนถึงวันนี้ เวลาล่วงเลยไปกว่า 8 เดือนแล้ว คณะกรรมการชุดดังกล่าวยังไม่ได้ข้อสรุปที่จะดำเนินการเพื่อรับซื้อเรือคืนช่วยเหลือชาวประมงแต่อย่างใด โดยตนขอให้มีการประชุมคณะกรรมการชุดดังกล่าวโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะประธานบอร์ดคือนายภูมิธรรม ในฐานะที่เป็นหัวเรือใหญ่ ตนอยากจะให้สละเวลาในการนัดประชุมคณะกรรมการชุดดังกล่าวเพื่อให้ได้ข้อสรุปในการช่วยเหลือชาวประมง ดังที่นายภูมิธรรมเคยลั่นวาจามั่นใจว่าปัญหาการประมงไทยจะคลี่คลายไปในทางที่ดีภายใน 100 วัน แม้ว่าจะผ่านมาแล้วกว่า 200 วันแล้วยังไม่ได้ข้อสรุป ตนก็หวังว่าปัญหาต่าง ๆ จะได้รับการแก้ไขเร็ว ๆ นี้ อีกทั้งยังมีประเด็นอื่นๆ ที่กำลังเป็นปัญหาของชาวประมง เช่น ราคาต้นทุนการผลิตที่สูงสวนทางกับราคาสินค้าที่ตกต่ำ เป็นต้น
.
ทั้งนี้ เมื่อคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ข้อสรุปจะได้ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและส่งต่อให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากนายกรัฐมนตรีต่อไป อันจะเป็นประโยชน์กับประชาชน

.
ด้านนายพิทักษ์เดช เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราช ในฐานะรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ราคากุ้งตกต่ำอย่างรุนแรงตั้งแต่ต้นปี 2567 โดยเฉพาะกุ้งขนาด 60-100 ตัว/กก. ส่งผลให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากอาหารกุ้ง และปัจจัยการผลิตอื่นๆ มีราคาสูงขึ้น และไม่มีทีท่าว่าจะปรับราคาลง เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
.
ขณะที่สมาคมเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย ได้ทำหนังสือสอบถามมายังตน เพื่อให้นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เร่งรัดกรมการค้าภายใน พิจารณาอนุมัติตามที่ คณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (ชริมพ์บอร์ด) กรมประมง มีมติเห็นชอบไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2567 ซึ่งเป็นการจัดทำโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ปี 2567 ตามแนวทางการดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ปี 2566 เป็นระยะเวลา 3 เดือน ปริมาณเป้าหมายผลผลิตกุ้ง รวม 7,000 ตัน ตามราคาเป้าหมายชี้นำตลาด โดยชดเชยส่วนต่างราคากุ้งไม่เกิน 20 บาทต่อกิโลกรัม และค่าใช้จ่ายดำเนินการด้านการตลาดให้แก่เกษตรกรหรือผู้รวบรวมในโครงการฯ กิโลกรัมละ ไม่เกิน 10 บาท ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 210 ล้านบาท โดยเป็นการสนับสนุนเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คบท.) ซึ่งมีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้รับผิดชอบกองทุนดังกล่าว ภายในเวลาที่กำหนดไว้คือ 15 มิ.ย. 2567 ที่จะถึงนี้
.
"นายภูมิธรรม เอง ก็เป็นประธาน คกก.นโยบายการประมงแห่งชาติ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งดูแลกำกับกรมการค้าภายในด้วย กลับไม่เร่งรัดแก้ปัญหาราคากุ้ง ทั้งๆ ที่ปัญหาราคากุ้งตกต่ำนี้ส่งผลต่อเกษตรกรมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว ควรรีบดำเนินการให้เป็นไปตามที่รับปากกับพี่น้องเกษตรกรดีกว่า อย่ารอให้เกิดการชุมนุมของเกษตรกรเลย" นายพิทักษ์เดช กล่าว
.
ทั้งนี้รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันพรุ่งนี้ (12 มิ.ย.) นายครรชิต เหมะรักษ์ สมาคมเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย จะเดินทางเข้าพบอธิบดีกรมการค้าภายใน ในเวลาประมาณ 11.00 น. เพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว 
.
#29
โรงไฟฟ้าจะนะร่วมกิจกรรมกินน้ำชายามเช้า-กินข้าวยำสัญจร ณ อบต.คลองเปียะ                 
วันที่ 11 มิถุนายน 2567 นายชนาธิป  ชิตพงศ์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าจะนะ พร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงานโรงไฟฟ้าจะนะ ร่วมกิจกรรมกินน้ำชายามเช้า-กินข้าวยำสัญจร ณ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเปียะ โดยมี นายกฤชณัทท  พลรัตน์ นายอำเภอจะนะ เป็นประธาน ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ  หัวหน้าส่วนราชการสังกัดส่วนกลาง  หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้นำหน่วยกำลังในพื้นที่  ผู้นำหน่วยงานท้องถิ่น องค์กรเอกชน  ผู้นำชุมชน เข้าร่วมงาน

ภาพ : สุธิพร/นิธิวดี
ข่าว : ธัญนุช
#30
เชฟรอนพาสื่อเยี่ยมชมกิจกรรมเพื่อสังคมในสงขลา สะท้อนความมุ่งมั่นในการเป็นพันธมิตรที่ดีกับชุมชนและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน

จังหวัดสงขลา เป็นเมืองท่าและเมืองชายทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ ที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ และมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของภาคใต้1 บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในฐานะภาคเอกชน ซึ่งได้ดำเนินธุรกิจในจังหวัดมากว่า 4 ทศวรรษ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 มุ่งมั่นในการเป็นพันธมิตรที่ดีกับชาวสงขลา และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชุมชนชาวสงขลาอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา การทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ การศึกษา และประชาสังคม ของเชฟรอนในจังหวัดสงขลา ได้รับการยอมรับถึงผลลัพธ์เชิงบวกในด้านการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต จากหลายหน่วยงาน อาทิ เมื่อปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา

เชฟรอนได้รับพระราชทานเข็มเกียรติคุณวันอนุรักษ์มรดกไทย จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะหน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ จากการสนับสนุนจังหวัดสงขลาและสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ในการจัดนิทรรศการ "FAD 11 SONGKHLA: FINEARTS ศาสตร์และศิลป์" และจัดโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานเจดีย์เขารูปช้าง จังหวัดสงขลา เพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง
เชฟรอนจึงได้จัดกิจกรรมการดูงานโครงการเพื่อสังคมของบริษัทฯ ในจังหวัดสงขลา เพื่อแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ต่อสื่อมวลชนและบุคคลทั่วไป ในด้านการพัฒนาโครงการเพื่อความยั่งยืน

นางสาวพรสุรีย์ กอนันทา รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า "ในฐานะบริษัทพลังงาน ที่ผู้บุกเบิกและพัฒนาธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในไทยมากว่า 6 ทศวรรษ เชฟรอนมีนโยบายดำเนินธุรกิจควบคู่กับการทำงานร่วมกับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ผ่านการทำโครงการเพื่อสังคมที่มีกลยุทธ์ใน 4 ด้าน ได้แก่ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน การพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต การส่งเสริมการศึกษา และการเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม"

"จังหวัดสงขลาเอง เปรียบเหมือนบ้านหลังที่สองของเชฟรอนที่ผูกพันกันมายาวนานกว่า 40 ปี ทั้งนี้ ในการทำโครงการเพื่อสังคม เรามุ่งให้ความสำคัญกับการทำงานแบบบูรณาการ ผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนได้อย่างตรงจุด และสามารถพัฒนาต่อยอดได้อย่างยั่งยืน โดยโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการระยะยาว ที่เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ สร้างต้นแบบ และพัฒนาพลังคน อาทิ โครงการก๊าซชีวภาพสหกรณ์ยางพาราสู่สังคมคาร์บอนต่ำ การสนับสนุนหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา และโครงการอนุรักษ์ย่านเมืองเก่าสงขลา ซึ่งล้วนเห็นผลความสำเร็จเป็นรูปธรรม สามารถร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสงขลาได้อย่างยั่งยืน และเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่อื่นได้"
1แหล่งข้อมูล: (www.songkhla.go.th , 2564)

เสริมศักยภาพเกษตรกรสวนยาง พร้อมเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ 
ในจังหวัดสงขลา คนในชุมชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรยางพาราเป็นอาชีพหลัก และการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัดได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี การผลิตยางแผ่นรมควันซึ่งใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ทำให้มีต้นทุนที่สูงและบางครั้งไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ อีกทั้งกระบวนการผลิตยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกและก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นและน้ำเสียส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบสหกรณ์อีกด้วย  ในปี พ.ศ. 2558 บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบพลังงาน (PERIN) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมกระบวนการผลิตยางแผ่นรมควันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นก๊าซชีวภาพ และใช้ก๊าซชีวภาพไปรมควันยางแผ่นเพื่อช่วยประหยัดเชื้อเพลิงไม้ฟืน ตลอดจนนำระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตยางแผ่นและการดำเนินงานของสหกรณ์  โดยนำร่องต้นแบบ ณ สหกรณ์บ้านทรายขาว และสหกรณ์ยูงทอง ตอบโจทย์การพัฒนาสงขลาของภาครัฐที่มุ่งให้เป็นเมืองเกษตรกรรมสีเขียวมูลค่าสูง และสอดคล้องกับหลักการของแบบจำลองโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน BCG

ศาสตราจารย์ ดร. สุเมธ ไชยประพัทธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบพลังงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า "ทางมหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากเชฟรอนมาเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว โดยเรามุ่งเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราและกรรมการบริหารสหกรณ์ฯ อย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่แน่ใจว่าอุปกรณ์และเทคโนโลยีเหมาะสมกับวิถีการดำรงอยู่ของวิสาหกิจชุมชนยางพารานี้ เมื่อทุกระบบทำงาน แต่ละสหกรณ์สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 425 ตัน/ปี หรือประมาณร้อยละ 31 และการนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ช่วยลดการใช้ฟืน ส่งผลให้ประหยัดเงินของสหกรณ์ฯ ได้ 130,000-180,000 บาทต่อปี ซึ่งตอนนี้ สหกรณ์ยางแผ่นรมควันยูงทองเป็นต้นแบบในการส่งต่อความรู้ให้กับสหกรณ์อื่นๆ ในพื้นที่ต่อไป นอกจากนี้ เรายังต่อยอดสู่ 'โครงการก๊าซชีวภาพสหกรณ์ยางพาราสู่สังคมคาร์บอนต่ำ' โดยผลักดันให้สหกรณ์ยูงทองขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของยางแผ่นรมควัน (Carbon Footprint of Product) ได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของสหกรณ์ยางแผ่นรมควันของประเทศ ซึ่งปัจจุบัน อยู่ระหว่างดำเนินการขอรับรองการจดทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) และดำเนินการประเมินความเป็นไปได้ในการทำคาร์บอนเครดิตของสหกรณ์ ตามเงื่อนไขขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ของประเทศไทย เพื่อนำสหกรณ์ยางแผ่นรมควันยูงทองไปสู่องค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) แห่งแรกของประเทศไทย"