Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

กระทู้ล่าสุด

#1
กระทรวงศึกษาธิการ สนับสนุนโครงการพัฒนาครูสอนภาษาอาหรับสู่การเรียนรู้ในศตวรษที่ 21 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามพื้นที่สงขลา-พัทลุง-สตูล

(23 กรกฎาคม 2567) ณ โรงแรมเฟรนด์ลีเทล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ดร.ชูสิน วรเดช ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาครูสอนภาษาอาหรับสู่การเรียนรู้ในศตวรษที่ 21 โดยมีนายสุรศักดิ์ อาหวัง นายกสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดสงขลา เป็นผู้กล่าวรายงาน และมีครูจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามพื้นที่จังหวัดสงขลา สตูล และพัทลุง วิทยากรจากซาอุดีอาระเบีย และจากะมูลนิธิโรงเรียนศาสนูปถัมภ์ กรุงเทพฯ เข้าร่วมโครงการประมาณ 100 คน สำหรับการจัดอบรมจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 กรกฎาคม 2567 

โครงการพัฒนาครูสอนภาษาอาหรับสู่การเรียนรู้ในคพรรรษที่ 21 ที่จัดขึ้นเพื่อคัดเลือกครูสอนกายาทรับตันแบบสำหรับโครงการแห่งอนาคต เสริมสร้างสมรรถนะให้แก่ครูสอนภาษาอาหรับ และยกระดับคุณภาพการสอนภาษาอาหรับของโรงเรียนเอกชน เพื่อนำร่องสู่การใช้หลักสูตรภาษาอาหรับของ Arabic For All ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในปีการศึกษา 2568

ดร.ชูสิน วรเดช ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว่า "สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ ถือได้ว่าเป็นองค์กรหนึ่งในพื้นที่ ที่มีบทบาทและมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในพื้นพื้นที่ ขอให้ท่านได้ร่วมมือกันต่อไปโดยยึดถึงคุณภาพของผู้เรียนในโรงเรียนเป็นสำคัญ ขอให้การจัดงานในครั้งนี้บรรจุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการทุกประการ และร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาต่อไป และขอเป็นกำลังใจให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ทุกท่านในพื้นที่ได้ร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางการทำงานจับมือไว้แล้วไปด้วยกัน"

ด้านนายสุรศักดิ์ อาหวัง นายกสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดสงขลา กล่าวว่าทางคณะผู้จัดโครงการพัฒนาครูสอนภาษาอาหรับสู่การเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ขอขอบพระคุณกระทรวงศึกษาธิการ ที่เห็นความสำคัญถึงการสอนภาษาอาหรับที่ถูกต้องแก่โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ปัจจุบันการเรียนรู้ภาษาอาหรับมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะหลังจากการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย และประเทศซาอุดีอาระเบีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 การเรียนภาษาหรับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยยกระดับประเทศไทยที่เป็นกำลังลังขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศ พร้อมก้าวเข้าสู่การแข่งขันในตลาดแรงงานแห่งอนาคต เพราะกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอาหรับถือเป็นกลุ่มใหญ่และมีอัตราค่าจ้างแรงงานที่สูงมาก การพัฒนาศักยภาพของครูสอนภาษาอาหรับเพื่อช่วยสร้างนักเรียนให้สามารถพัฒนาทักษะภาษาอาหรับอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนประเทศ

สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้ และมูลนิธิโรงเรียนศาสนูปถัมภ์ กรุงเทพฯ โดยประธานมูลนิธิ นายไฟโรส อยู่เป็นสุข มีนโยบายในการพัฒนาทักษะภาษาอาหรับให้แก่เยาวชนไทย โดยได้นำร่องโครงการการอบรมมาตั้งแต่ปี 2565 และขยายโครงการต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การสร้างกลุ่มครูต้นแบบ หรือ Master Trainer เพื่อยกระดับความสามารถทางด้านภาษาอาหรับ และเทคนิคการสอนภาษาอาหรับตามแนวทาง การสอน Active Learning and Communicative Approach อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการนำร่องการใช้หลักสูตรจากสถาบันภาษาอาหรับ Arabic For All ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในปีการศึกษา 2568 เป็นต้นไป

#2
ขยายถนนเพชรเกษมสายเก่าช่วงแยกควนลัง 559 ม. 39.9 ล. โครงการเริ่มก่อสร้างไปแล้วกำหนดเสร็จต้นปี 68 ณ ปัจจุบันฝั่งหาดใหญ่เหลือประมาณ 2-3 กม.ก็จะขยายหมดสายแล้ว ส่วนฝั่งรัตภูมอีก 10 กม.นิดๆ ขอให้ได้ขยายตลอดสายเร็วๆ ถนนเพชรเกษมสายเก่า อย่าให้เก่าเหมือนชื่อนะครับ   
#3
งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗

ทรงพระเจริญ


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร และพนักงาน
บริษัท กัลฟ์ จะนะ กรีน จำกัด
#4
ทรงพระเจริญ
งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและศิษย์เก่า
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
#5
เปิดงานสืบสานประเพณีหล่อเทียนพรรษา และสืบสานวัฒนธรรม ประจำปี 2567 ณ วัดนาสีทอง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา 

15 กรกฎาคม 2567 #นายกชาย นายเดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย "สส.น้ำหอม" นางสาวสุภาพร กำเนิดผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานเปิดงานสืบสานประเพณีท้องถิ่นหล่อเทียนพรรษา และอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ประจำปี 2567  ณ วัดนาสีทอง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา โดยมีนายยุทธวีร์ สุนทราภรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลนาสีทอง กล่าวรายงานโครงการจัดงานฯ การแสดงธรรมเทศนาโดย พระครูสิริญาณวิมล (อุดม) เจ้าอาวาสวัดเกาะบกรัตนาราม และคณะสงฆ์ร่วมพิธี

พร้อมด้วยนายจรัส ชุมปาน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการพัฒนาสังคม ตัวแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายอารีย์ สนหล๊ะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง ดร.ภาณุมาศ สุยบางดำ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย คณะผู้บริหารฯ สมาชิกสภาฯ หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานเทศบาล ผู้นำชุมชน คณะครู นักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านนาสีทอง นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยรัตภูมิ และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมพิธีฯ 

โอกาสนี้ นายเดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวในกับพี่น้องประชาชนที่มาร่วมพิธีในวันนี้ว่าต้องกราบขออภัยพี่น้องประชาชนที่ไม่ค่อยได้ลงพื้นที่หาเสียงหรือพบปะพี่น้องประชาชนมากนัก เนื่องจากได้รับภารกิจใหญ่ในการฟื้นฟูพรรคประชาธิปัตย์ แต่การผลักดันการพัฒนาพื้นที่ไม่ได้ลดลง มีโครงการที่กำลังขับเคลื่อนหลายโครงการโดยเฉพาะการดูแลลุ่มน้ำคลองภูมี เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำที่สะอาด อุดมสมบูรณ์ และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ และขอยืนยันว่าหากมีโอกาสทำงานในฝ่ายบริหารสิ่งแรกที่คิดถึงคือการพัฒนาประเทศ พัฒนาภาคใต้ และที่สำคัญคือการพัฒนาจังหวัดสงขลาของเรา 

สำหรับงานสืบสานประเพณีท้องถิ่นหล่อเทียนพรรษา และอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ประจำปี 2567  ณ วัดนาสีทอง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 -19 กรกฎาคม 2567 พี่น้องประชาชนสามารถมาร่วมทำบุญหล่อเทียน ร่วมเที่ยวชมงาน ชมการแสดงบนเวทีได้ทุกค่ำคืน และในวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ทำพิธีสมโภชและถวายเทียนพรรษา 9 วัด ณ ปะรำพิธีวัดนาสีทอง ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
#6
ร่วมส่งมอบโฉนดเพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฏาคม 2567

15 กรกฎาคม 2567 ณ ศาลาประชาคมอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา "สส.น้ำหอม" นางสาวสุภาพร กำเนิดผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา มอบหมายคณะทำงาน ร่วมพิธีเปิดโครงการมอบโฉนดเพื่อการเกษตร 72,000 ฉบับ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนายวิเชษต์ สายกี้เส้ง นายอำเภอสะเดา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายมนตรี ศรีเพ็ชรใส ปฏิรูปที่ดินจังหวัดสงขลา และหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมส่งมอบโฉนดให้แก่เกษตรกร

โดยในวันนี้มีเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดสงขลา มารับมอบโฉนดเพื่อการเกษตรจำนวน 72 ราย เป็นที่ดิน 96 แปลง เนื้อที่ 956 ไร่ 1 งาน 25 ตารางวา และรับมอบต้นไม้ จำนวน 200 ต้น ซึ่งเกษตรกรทุกคนต่างรู้สึกปลาบปลื้มดีใจ และนับเป็นโอกาสดีที่ได้มีส่วนร่วมในการเทิดทูน และแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
#7
ทรงพระเจริญ
งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล พนักงานเทศบาล
ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง และพสกนิกรชาวเทศบาลเมืองคอหงส์
#8
งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗

ทรงพระเจริญ


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารและพนักงาน
บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (TTM)
#9
ดุจสุรีย์ฉายฉานเบิกม่านฟ้า  ส่องโลกหล้าชาตรีภิภพไสว
เฉลิมพระชนมพรรษาพระทรงชัย  สถิตสมัยทิพย์ไอศูรย์ไพบูลย์เทอญ


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารและพนักงาน
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สาขา ท่าอากาศยานหาดใหญ่
#10
อำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุดของจังหวัดสงขลา ได้แก่?
หากถามว่าอำเภอไหนประชากรมากที่สุดของสงขลา ทุกคนต้องรู้แน่นอนว่าคือหาดใหญ่ แต่หากถามว่าน้อยที่สุดคงคิดกันนานหน่อย วันนี้พาไปอัพเดทจำนวนประชากรจังหวัดสงขลากันครับ
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดสงขลา ณ ปี 2566 จังหวัดสงขลา มีประชากร 1,431,959 คน โดยแบ่งตามรายอำเภอ 16 อันดับ ได้ดังนี้
1.อำเภอหาดใหญ่ 405,876 คน
2.อำเภอเมืองสงขลา 161,078 คน
3.อำเภอสะเดา 124,463 คน
4.อำเภอจะนะ 108,898 คน
5.อำเภอสิงหนคร 83,786 คน
6.อำเภอสะบ้าย้อย 81,335 คน
7.อำเภอเทพา 78,922 คน
8.อำเภอรัตภูมิ 75,682 คน
9.อำเภอนาทวี 69,096 คน
10.อำเภอระโนด 62,874 คน
11.อำเภอสทิงพระ 46,905 คน
12.อำเภอควนเนียง 34,273 คน
13.อำเภอบางกล่ำ 33,812 คน
14.อำเภอคลองหอยโข่ง 27,187 คน
15.อำเภอนาหม่อม 23,001 คน
16.อำเภอกระแสสินธุ์ 14,771 คน 

จังหวัดสงขลา แบ่งเขตปกครองท้องที่เป็น 16 อำเภอ 127 ตำบล 1,180 หมู่บ้าน