จังหวัดสงขลา เชิญสถานประกอบกิจการประมงทะเลในจังหวัดเพื่อชี้แจงและกำหนดแนวทาง เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศ
ที่โรงแรมพาวิลเลี่ยน อ.เมืองสงขลา วันนี้(24 มิ.ย. 57) เวลา 09.30 น. นายพิรสิญฐ์ พันธุ์เพ็ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานพิธีเปิการโครงการชี้แจงนายจ้างในสถานประกอบกิจการประมงทะเลที่เกี่ยวเนื่อง
นายพิรสิญฐ์ พันธุ์เพ็ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า รัฐบาลมีความพยายามมุ่งมั่นในการทำงานด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ และมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศ รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับ Tier 2 Wath List
หมายถึง ประเทศที่รัฐบาลยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของกฎหมายคุ้มครองเยื่อของการค้ามนุษย์ แต่มีความพยายามอย่างมีนัยสำคัญที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านี้ ซึ่งถูกจัดอยู่ในลำดับนี้เป็นระยะเวลาติดต่อกันมา 4 ปี เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศต้นทาง ปลายทาง และทางผ่านสำหรับการค้าผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก เพื่อเป็นการบังคับใช้แรงงานและการบังคับค้าประเวณีประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแรงดึงดูดจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกันต้องการเข้ามาทำงานเพราะปัจจัยการเศรษฐกิจเรื่องค่าจ้าง และความยากจนของประเทศตนเอง
ประกอบกับเกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานระดับไร้ฝีมือ หรืองานบางอย่างคนไทยไม่นิยมทำ เช่น ธุรกิจประมงทะเลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมงทะเล นายจ้างจึงหันไปจ้างแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะจากลาว พม่า กัมพูชา และมีแนวโน้มมากขึ้นจึงเกิดกระบวนการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการ ซึ่งมีทั้งที่เข้ามาอย่างถูกต้องและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น จึงถูกจับตามองว่ามีการค้ามนุษย์โดยมีรายงานว่าลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างด้าวทำงานในเรือประมงทะเลมีความเสี่ยงเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์มากที่สุด
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ยังกล่าวต่อว่า การค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่สลับซับซ้อน มีหน่วยงานเกี่ยวข้องหลายหน่วยงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นหน่วยงานสหวิชาชีพหน่วยงานหนึ่งตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 แต่อยู่ในสถานะปลายทาง มีภารกิจการให้ความคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง โดยยึดหลักว่า ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน สำหรับแรงงานต่างด้าวจะถูกจัดอยู่ในลำดับต้น
เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการกระทำที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จึงมีการกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนนโยบายและมาตรการของรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง และในปี พ.ศ. 2557 ยังดำเนินการต่อภายใต้โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย..
ยุสรา วาจิ//ข่าว วิชราวุฒิ แกล้ากล้าหาญ//ภาพ ส.ปชส.สงขลา