Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

อาจารย์ มอ.เปิดผลวิจัยทางสมองชี้พืชกระท่อมช่วยลดอาการลงเเดงจากสารเสพติด

เริ่มโดย สงขลามีเดีย, 16:07 น. วันที่ 21 09 56

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

สงขลามีเดีย

ผลวิจัยทางสมองชี้พืชกระท่อมช่วยลดอาการลงเเดงจากสารเสพติดในหนูทดลอง จากการศึกษาผลของสารสกัดจากใบกระท่อมต่อสมอง ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์  กุมารสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  กระท่อม(Kratom) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa Korth. อยู่ในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10-15 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว   เรียงตัวเป็นคู่ตรงพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูลพัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของประเทศมาเลเซีย กระท่อมเป็นพืชเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.  2522

เริ่มต้นจากงานวิจัยเรื่องผลของสารสกัดน้ำจากใบกระท่อมต่ออาการถอนเอทานอล (ลงแดง) ในหนูทดลองซึ่งได้ตีพิมพ์ผลงานไปแล้วในวารสาร Fitoterpia พบว่าสารสกัดน้ำจากในกระท่อมสามารถลดอาการถอนเอทานอลในหนูทดลองที่ถูกชักนำให้ติดเอทานอลได้ หลังจากนั้นจึงได้มีการศึกษาเพิ่มเติม โดยศึกษาผลของสารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อมต่อการกระตุ้นการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเสพติด โดยเฉพาะบริเวณนิวเคลียส แอคคัมเบนส์ (nucleus accumbens) และ สไตรเอตัม  (striatum) ซึ่งเป็นบริเวณที่เซลล์ประสาทสื่อสารกันด้วยสารโดปามีน (dopamine) การกระตุ้นสมองบริเวณนี้มีผลทำให้รู้สึกเป็นสุข เคลิบเคลิ้มและติดใจ และสุดท้ายนำไปสู่การเสพติดได้

จากการศึกษาโดยวิธีการตรวจวัดโปรตีนที่พิสูจน์ว่ามีการกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมองบริเวณที่ต้องการศึกษา พบว่าสารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อมที่ความเข้มข้น 40 และ 80 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ไม่มีผลกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองบริเวณ ในขณะที่ผลการศึกษาฤทธิ์ของยาซูโดอีฟีดรีน (pseudoephedrine) ที่ใช้เป็นส่วนผสมของยาแก้หวัด คัดจมูก ที่ผ่านมาของผู้วิจัยเองในปี 1998 พบว่ายาซูโดอีฟีดรีน มีฤทธิ์คล้ายกับสารเสพติด เช่นแอมเฟตามีน โดยมีผลกระตุ้นสมองบริเวณนิวเคลียส แอคคัมเบนส์ และสไตรเอตัม

อย่างไรก็ตาม เพื่อความแน่ใจ ขั้นตอนที่จะต้องศึกษาต่อไป คือการตรวจวัดผลของสารสกัดจากใบกระท่อมต่อการทำงานของสมองด้วยเทคนิคที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถติดตามการทำงานของสมองได้ต่อเนื่องแบบ real-time ซึ่งเทคนิคดังกล่าวคือการวัดสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalo-graphy, EEG)

สำหรับการศึกษาผลระยะยาวของการได้รับสารสกัดจากใบกระท่อม เพื่อดูอาการถอนหรืออาการลงแดงโดยเปรียบเทียบผลกับสารเสพติดมาตรฐาน ได้แก่ มอร์ฟีน และเอทานอล ผลการศึกษาพบว่าการได้รับมอร์ฟีนเพียง 3 วัน มีผลทำให้หนูทดลองติด และเมื่อชักนำให้เกิดอาการถอน ทำให้เกิดอาการถอนอย่างรุนแรง เช่น การกระโดดซ้ำ ๆ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นในภาวะปกติ พร้อมทั้งมีการขับถ่ายเรี่ยราด เหมือนในกรณีของคนที่มีอาการลงแดงจากการเสพติดมอร์ฟีน ส่วนการทดสอบการเสพติดเอทานอล โดยให้หนูทดลองกินอาหารเหลวที่มีเอทานอลผสมอยู่ 7 เปอร์เซ็นต์ด้วยตัวหนูเองเป็นเวลานาน 21 วัน ส่วนวันที่ 22 งดให้อาหารเหลวที่มีเอทานอล พบว่าหนูทดลองเกิดอาการถอนเอทานอล

เห็นได้จากการเคลื่อนไหวที่พลุ่งพล่านมากขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของคลื่นไฟฟ้าสมองในช่วงความถี่แกมม่า (gamma wave) ในขณะที่หนูทดลองที่ได้รับสารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อมเป็นเวลานาน 3 เดือน ในปริมาณ 20 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. นั้นเมื่อหยุดให้สารสกัดพบว่าไม่ทำให้เกิดอาการถอน หรือทุรนทุรายทางด้านร่างกายดังที่พบในการศึกษาการถอนมอร์ฟีนและเอทานอลเลย  สรุปคือไม่พบอาการถอนกระท่อมทางด้านร่างกาย อย่างไรก็ตามควรมีการทดสอบขั้นต่อไปด้วยการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองซึ่งไวและมีความละเอียดสูงกว่าเพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง ซึ่งจะทำให้ได้คำตอบที่ชัดเจน

ได้มีการทดลองนำพืชกระท่อมมาประยุกต์ใช้ลดอาการถอนจากการเสพติดมอร์ฟีนและเหล้า พบว่าสารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อมช่วยลดอาการถอนมอร์ฟีนโดยวัดจากพฤติกรรมการกระโดดและการขับถ่ายเหลว ส่วนอาการถอนเหล้าหรือเอทานอลนั้น จากการประเมินผลด้านพฤติกรรม สังเกตได้จากระยะทางรวมทั้งหมดขณะที่หนูทดลองเคลื่อนไหว พบว่าหนูทดลองกลุ่มที่ถูกชักนำให้มีอาการถอนเหล้ามีระดับการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากซึ่งแสดงถึงอาการลงแดงจากภาวะถอนเหล้านั่นเอง และเมื่อให้สารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อมในขนาด 60 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. แก่หนูทดลองก่อนการถอนเหล้า พบว่าอาการถอนเหล้าลดความรุนแรงลงได้ และยังมีการค้นพบที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ สารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อมบรรเทาอาการถอนเหล้าได้ผลดีพอ ๆ กับยามาตรฐานที่ใช้คือ ฟลูอ็อกซีติน (fluoxetine) ในขนาด 10 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.

นอกจากการประเมินทางด้านพฤติกรรมแล้ว ยังมีการยืนยันด้วยรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าสมอง จากรูปซึ่งแสดงคลื่นไฟฟ้าสมองในช่วงความถี่แกมม่า จะเห็นได้ว่าหนูทดลองกลุ่มที่ไม่ถอนเหล้าเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ถอนเหล้า มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือคลื่นช่วงความถี่แกมม่ามีค่าเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ถอนเหล้า แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ถอนเหล้าแต่ได้รับให้สารสกัดจากใบกระท่อม คลื่นช่วงความถี่แกมม่าลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ผลจากการทดลองนี้ยืนยันได้ว่า สารสกัดจากใบกระท่อม สามารถลดอาการลงแดงได้ชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นี้เป็นสิ่งที่สามารถทำซ้ำและได้ผลเหมือนเดิม ไม่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล หรือเวลา และสถานที่ สรุปแล้วพืชกระท่อมสามารถบรรเทาอาการถอนเหล้าได้ผลใกล้เคียงกับยามาตราฐานฟลูอ็อกซีติน ไม่ว่าจะศึกษาจากพฤติกรรมหรือจากคลื่นไฟฟ้าสมอง

และจากการศึกษาผลแบบเฉียบพลันของสารสกัดจากใบกระท่อมต่อภาวะหลับ-ตื่น โดยเปรียบเทียบกับหนูทดลองกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับยามาตรฐานคือฟลูอ็อกซีติน 10 มก.  ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. พบว่าฟลูอ็อกซีตินทำให้รูปแบบการนอนหลับเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ คือ มีผลกดการนอนหลับช่วงที่มีการกลอกลูกตา (rapid eye movement sleep) ส่วนหนูทดลองที่ได้รับสารสกัดอัลคาลอยด์จากใบกระท่อมทั้งขนาด 10 และ 60 มก. นั้นไม่มีผลกดการนอนหลับช่วงที่มีการกลอกลูกตา แสดงให้เห็นว่าพืชกระท่อมไม่มีผลข้างเคียงดังกล่าว

การวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการศึกษาในหนูทดลองที่มีการควบคุมปัจจัยต่างๆ ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตัดปัจจัยบิดเบือนจากการตัดสินหรือความคาดหวังของมนุษย์ แม้ว่าผลการทดลองที่ผ่านมาจะยังไม่สามารถชี้ชัดถึงฤทธิ์เสพติดของพืชกระท่อมได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อดูจากพฤติกรรมการเคี้ยวใบกระท่อมอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเกษตรกรก็น่าจะบ่งบอกถึงฤทธิ์เสพติดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เคี้ยวใบกระท่อมเป็นเวลาสิบ ๆ ปี นั้น ถ้าไม่ได้เคี้ยวเมื่อถึงเวลาจะรู้สึกว่าไม่กระปรี้กระเปร่าหรือพร้อมที่จะทำงาน มีอาการอยากเคี้ยว หาวบ่อยๆ และหาวจนน้ำหูน้ำตาไหล คล้าย ๆ กับคนที่ติดการเคี้ยวหมาก เพียงแต่ผลที่มีต่อร่างกายนั้นไม่ชัดเจนเท่ากับการขาดเมทแอมเฟตามีน

นอกจากนี้ยังสามารถตรวจวัดผลของกระท่อมต่อการทำงานของสมองได้หลายวิธี การวัดผลทางพฤติกรรมอาจจะทำให้ได้เพียงข้อมูลเบื้องต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการนำวิธีการตรวจวัดการทำงานของสมองที่ไวและละเอียดกว่ามาใช้ และถ้าพบว่าการหยุดเสพกระท่อมแล้วนำไปสู่ความผิดปกติของสมอง ก็จะสามารถชี้ชัดได้ว่ากระท่อมเป็นพืชที่มีฤทธิ์เสพติดหรือมีโทษ ปัจจุบันห้องปฏิบัติการทางระบบประสาทของเราได้พัฒนาวิธีการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองทั้งในสัตว์ทดลองและในคนเพื่อรองรับงานวิจัยด้านสารเสพติด รวมทั้งสารใหม่ๆ ที่มีการนำมาเสพหรือใช้แบบผิดวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นและทันต่อเหตุการณ์

ส่วนแนวความคิดที่จะนำมาใช้เพื่อบำบัดการเสพติดก็มีความเป็นไปได้ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้สรรพคุณและหลีกเลี่ยงด้านที่เป็นโทษก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญไม่ควรให้มีการทดลองใช้พืชกระท่อมตามลำพัง ควรอยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์บำบัดอย่างใกล้ชิด
สนับสนุนโดย
- กฟผ.โรงไฟฟ้าจะนะ www.chana.egat.co.th/home
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา www.skru.ac.th
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy

สงขลามีเดีย

สนับสนุนโดย
- กฟผ.โรงไฟฟ้าจะนะ www.chana.egat.co.th/home
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา www.skru.ac.th
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy

สงขลามีเดีย

สนับสนุนโดย
- กฟผ.โรงไฟฟ้าจะนะ www.chana.egat.co.th/home
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา www.skru.ac.th
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy

sportballzaa

 :) ใบกระท่อมยังไงก็เป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง ถ้าจะใช้ในประเทศได้จริงก็คงต้องควบคุมกันอย่างหนักหรือเปล่าครับ
ทุกเรื่องราวของนักเตะและความคืบหน้าของข่่าวฟุตบอลประจำวัน

sbosoccer

ใบกระท่อม สรรพคุณของมันนี่หร๋อยจริงครับ ,,,, ได้ทั้งดี ทั้งโทษ
ชาวสงขลาทุกคนครับ ผมแนะนำเวปไซต์ข่าวบอลที่น่าสนใจอย่าง >>ข่าวพรีเมียร์ลีก<< มาฝากครับ อัพเดทข่าวฟุตบอลใหม่ๆตลอด 24 ชั่วโมง

baafootball

หากวิจัยดี ๆ แล้วผมว่ามันก็น่าจะนำมาเป็นยารักษาพวกนี้ก็ได้มั้งครั้บ   >:(
sbobet เว็บที่ให้บริการที่ได้มาตราฐานและปลอดภัยที่สุด