Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

กระทู้ล่าสุด

#31
วันที่ 13 ตุลาคม  2566  นายเขมญาติ  ยมานันตกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าจะนะ พร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงานโรงไฟฟ้าจะนะ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล  ณ หอประชุมชวาทอง และพิธีวางพวงมาลา ณ หอประชุมศาลาประชาคมอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
โดยในวันที่ 13 ตุลาคม 2566 เป็นวันแห่งการสวรรคตครบ 7 ปี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  หรือเรียกว่า "สัตตมวรรษ"  เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ  ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้                                   
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า"วันนวมินทรมหาราช" ซึ่งได้พระราชทานพระมหากรุณามีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 รับทราบการกำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็น "วันนวมินทรมหาราช" 
โดยกิจกรรมในวันนี้มีนายกฤชณัทท  พลรัตน์  นายอำเภอจะนะ เป็นประธานในพิธี และมีหัวหน้านส่วนราชการประจำอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการสังกัดส่วนกลาง หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้นำหน่วยกำลังในพื้นที่ นายกเทศมนตรีตำบลทุกแห่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล  องค์กรเอกชน เครือข่ายภาคประชาชน  และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้าน เข้าร่วมกินกรรมอย่างพร้อมเพรียงกัน
#32
โรงไฟฟ้าจะนะ ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจะนะ และโรงพยาบาลศิครินทร์หาดใหญ่ จัดกิจกรรมแพทย์เคลื่อนที่
ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2566  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โรงไฟฟ้าจะนะร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอจะนะและโรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่จัดกิจกรรมแพทย์เคลื่อนที่ ประจำปี 2566 พร้อมทั้งให้บริการนวดแผนไทย และการตัดผมจากโรงเรียนเสริมสวยดาวสยาม โดยกำหนดจัดกิจกรรม 3 วัน 3 สถานที่ ในอำเภอจะนะ ดังนี้
10 ตุลาคม 2566 ณ โรงเรียนบ้านป่าชิง ม.1 ตำบลป่าชิง
11 ตุลาคม 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ม.3 ตำบลตลิ่งชัน
12 ตุลาคม 2566 ณ โรงเรียนตาดีกาบ้านควนหัวช้าง ม.6 ตำบลคลองเปียะ 
สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายกฤชณัทท พลรัตน์ นายอำเภอจะนะ ได้เข้าเยี่ยม การดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าว พร้อมขอบคุณหน่วยงานที่ได้จัดกิจกรรมดีๆ ให้กับพี่น้องชาวอำเภอจะนะ
ทั้งนี้ กฟผ. ต้องขอขอบคุณสาธารณสุขอำเภอจะนะ โรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่ ชมรมนวดแผนไทยนาหม่อม โรงเรียนเสริมสวยดาวสยาม ที่ร่วมกันจัดกิจกรรม ขอขอบคุณผู้ดูแลสถานที่จัดกิจกรรม ได้แก่ โรงเรียนบ้านป่าชิง ม.1 ตำบลป่าชิง องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน และโรงเรียนตาดีกาบ้านควนหัวช้าง ตำบลคลองเปียะ  สำหรับการเอื้อเฟื้อสถานที่
และที่ขาดไม่ได้เจ้าหน้าที่ทุกคนทุกภาคส่วน ตั้งแต่ฝ่ายจัดเตรียมสถานที่ ฝ่ายบริการ ฝ่ายแพทย์ และอาสาสมัครทุกคน ที่ร่วมมือร่วมใจในการทำให้กิจกรรมครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
#33
สงขลาสนทนา / อำเภอไหน? ใหญ่ที่สุด? ในจังหวั...
กระทู้ล่าสุด โดย ฅนสองเล - 15:55 น. วันที่ 06 10 66
อำเภอไหน? ใหญ่ที่สุด? ในจังหวัดสงขลา
ลำดับที่ 16 อำเภอนาหม่อม แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 29 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 92.47 ตร.กม.
ลำดับที่ 15 อำเภอกระแสสินธุ์ แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 22 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 96.4 ตร.กม.
ลำดับที่ 14 อำเภอสทิงพระ แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 79 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด   120 ตร.กม.
ลำดับที่ 13 อำเภอบางกล่ำ แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 36 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 147.8 ตร.กม.
ลำดับที่ 12 อำเภอเมืองสงขลา แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 46 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 171.9 ตร.กม.
ลำดับที่ 11 อำเภอควนเนียง แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 46 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด   208.0 ตร.กม.
ลำดับที่ 10 อำเภอสิงหนคร แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 77 หมู่บ้าน ได้แก่ พื้นที่ทั้งหมด 228.0 ตร.กม.
ลำดับที่ 9 อำเภอคลองหอยโข่ง แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 32 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 274.00 ตร.กม.
ลำดับที่ 8 อำเภอจะนะ แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 139 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 502.98 ตร.กม.
ลำดับที่ 7 อำเภอรัตภูมิ แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 63 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 591.8 ตร.กม.
ลำดับที่ 6 อำเภอนาทวี แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 92 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 747 ตร.กม.
ลำดับที่ 5 อำเภอระโนด แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 73 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 783.8 ตร.กม.
ลำดับที่ 4 อำเภอหาดใหญ่ แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 98 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด   852.796 ตร.กม.
ลำดับที่ 3 อำเภอสะบ้าย้อย แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 62 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 852.81 ตร.กม.
ลำดับที่ 2 อำเภอเทพา แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 67 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 978 ตร.กม.
ลำดับที่ 1 อำเภอสะเดาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 67 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 1,029.273 ตร.กม.

เป็นยังไงบ้างทายถูกกันกี่อันดับครับ

 #รีวิวบ้านบ้าน #ข่าวสารเข้มข้น #สองเลรีวิว ต้อมรัตภูมิ 0897384215 รายงาน
#34
ข่าวสงขลา / มรภ.สงขลา เฟ้นหาตัวแทนออมสินยุ...
กระทู้ล่าสุด โดย gim - 17:09 น. วันที่ 30 09 66
มรภ.สงขลา เฟ้นหาตัวแทนออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นแข่งระดับประเทศ "ผลิตภัณฑ์ไซรัปกล้วย-เจลลี่พร้อมดื่ม" กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนวัตกรรมชุมชนคลองสายยู ต.รำแดง อ.สิงหนคร คว้ารางวัลชนะเลิศ
                มรภ.สงขลา ผนึกธนาคารออมสิน เฟ้นหาตัวแทนนักศึกษาโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 66 ผลิตภัณฑ์ไซรัปกล้วยและเจลลี่พร้อมดื่ม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนวัตกรรมชุมชนคลองสายยู ต.รำแดง อ.สิงหนคร คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันระดับประเทศ
              เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ร่วมกับธนาคารออมสินนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 เพื่อคัดเลือกตัวแทนของมหาวิทยาลัยไปแข่งขันในระดับประเทศ โดยมี รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดี อ.พุฒิธร ตุกเตียน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ทีมคณาจารย์ นักศึกษา และคณะกรรมการพิจารณาตัวแทนจากธนาคารออมสิน และ มรภ.สงขลา เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
             ผลการพิจารณาจากผู้เข้าร่วมประกวดจำนวน 5 ทีม ปรากฏว่า รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนวัตกรรมชุมชนคลองสายยู ต.รำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา พัฒนาผลิตภัณฑ์ไซรัปกล้วย และเจลลี่กล้วยพร้อมดื่ม รับเงินรางวัล 10,000 บาท และเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยสู่รอบระดับประเทศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงชันโรงบ้านคลองต่อ ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา พัฒนาเซรั่มบำรุงผิวหน้า พรอพอลิส จากชันโรง รับเงินรางวัล 5,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีมวิสาหกิจชุมชน Ecotourism Songkhla Thailand พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ชุมชนหัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา รับเงินรางวัล 3,500 บาท และรางวัลชมเชย 2 รางวัล รับเงินรางวัลทีมละ 2,000 บาท ได้แก่
ทีมกลุ่มเครื่องแกงชุมชนบ้านม่วงใหญ่ พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงและบรรจุภัณฑ์เครื่องแกงบ้านม่วงใหญ่ ต.กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา และ ทีมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนเทพหยา พัฒนาชุดข้าวยำสวนเทพหยา ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา
              รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าวว่า การแก้ปัญหาความยากจนถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของประเทศไทยที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และกำหนดให้ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องผนึกกำลังร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นฐานของความพอดีภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น รัฐบาลมีนโยบายสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกิจการที่เป็นประโยชน์แก่คนในชุมชน เพื่อผลิตสินค้าหรือให้บริการ ส่งเสริมการจ้างงาน โดยไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างกำไรอย่างเดียว แต่เพื่อแก้ปัญหา พัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อมด้วย
             มรภ.สงขลา จึงร่วมกับธนาคารออมสิน ดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจ ทั้งด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาด เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สร้างงานสร้างอาชีพให้แก่กลุ่มชุมชน โดยการนำองค์ความรู้ นวัตกรรมสมัยใหม่ของสถาบันอุดมศึกษา มาพัฒนายกระดับคุณภาพภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่นให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดโดยการทำงานร่วมกัน ตลอดจนเสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม ก่อให้เกิดประสบการณ์ด้านพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา สนับสนุนและเสริมสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เมื่อออกสู่ตลาดแรงงาน นำไปสู่การสร้างความมั่นคงของรากฐานสังคมจากพื้นฐานความเข้าใจของคนรุ่นใหม่
#35
สงขลาฟรีสไตล์ / Stop Spam on board
กระทู้ล่าสุด โดย gim - 15:51 น. วันที่ 30 09 66
No Spm no no no
#36
ข่าวสงขลา / มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ชวนร่วม...
กระทู้ล่าสุด โดย Earnest2 - 15:36 น. วันที่ 19 09 66
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ชวนร่วมสืบสานประเพณีวันสารทเดือนสิบ ประจำปี 2566
ทำบุญหนแรก : วันเสาร์ ที่ 30 กันยายน 2566
ทำบุญหนหลัง : วันเสาร์ ที่ 14 ตุลาคม 2566
#37
ข่าวสงขลา / มรภ.สงขลา ผนึก อพท.+4 มหาวิทยา...
กระทู้ล่าสุด โดย สงขลามีเดีย - 22:04 น. วันที่ 18 09 66
อพท. จับมือ 5 สถาบันการศึกษา ร่วมหนุนเสริมการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ระยะ 4 ปี หวังยกระดับการบริหารจัดการพื้นที่สู่เกณฑ์มาตรฐานสากล GSTC UCCN และ CBT Thailand ชูจุดขายวิถีชีวิตและวัฒนธรรม พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวศักยภาพแห่งใหม่ ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวของไทย
    นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. เปิดเผยว่า วันนี้ (18 กันยายน 2566) อพท. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยลงนามร่วมกับ 5 สถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการสร้างกลไกการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้กับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สถาบันวิชาการ องค์กรชุมชน และองค์กรภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2567- พ.ศ. 2570) 
  วัตถุประสงของความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามแนวทางของ  สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council) และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมกันให้ครอบคลุมรายละเอียดตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) การร่วมกันขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาเมืองที่มีศักยภาพสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network : UCCN) และกำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันให้ครอบคลุมรายละเอียดตามใบสมัครของยูเนสโก รวมถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและกำหนดบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกันให้ครอบคลุมตามแนวทางมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT Thailand)
    ภายใต้ความร่วมมือนี้ได้ตกลงขอบเขตการทำงานร่วมกัน โดย อพท. และ 5 มหาวิทยาลัย จะร่วมกันประสานงานการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการใช้ศักยภาพของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ อปท. และชุมชนท้องถิ่นจัดให้มีการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ส่งเสริมการจัดทำข้อมูลสารสนเทศและการวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมไปถึงส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่แห่งท้องถิ่นให้ดีขึ้น
    ทั้งนี้ อพท. และมหาวิทยาลัย จะร่วมกันกำหนดรายละเอียดแผนงานและโครงการตามแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ ร่วมกันสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ  ภายใต้งบประมาณที่แต่ละฝ่ายได้รับจัดสรรและภารกิจของหน่วยงาย โดยมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษาและบุคลากร มาร่วมดำเนินงานในแต่ละโครงการ ที่อยู่ในพื้นที่พิเศษหรือพื้นที่เป้าหมายของ อพท.  ภายใต้ความเห็นชอบร่วมกัน  นอกจากนั้น ยังตกลงร่วมกันที่จะร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนรายละเอียดการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ภายใต้บริบทและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงานอีกด้วย   
    อย่างไรก็ตาม พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ครอบคลุมพื้นที่ใน 15 อำเภอของ 3 จังหวัด คือ จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันอยู่ในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ระยะ 5 ปี มีเป้าหมายยกระดับเมืองที่มีความพร้อมให้เข้าสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก และส่งเสริมให้แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่มีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนำไปสู่การเสนอเข้ารับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ Green Destinations Top 100 Stories
#38
มรภ.สงขลา จัดพิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการขับเคลื่อนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ฯ ปีงบประมาณ พ.ศ.2567             
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการกับคณบดีและผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุมอรัญ ธรรมโน ชั้น 8 อาคารอำนวยการ มรภ.สงขลา เพื่อให้มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ฯ และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณบดี ผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน
#39
วันที่ 7 กันยายน 2566 นายเขมญาติ ยมานันตกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าจะนะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานโรงไฟฟ้าจะนะ ร่วมจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และ ปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 2 ณ บริเวณบ้านท่ายาง หมู่ 3 ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมีนายกฤชณัทท พลรัตน์ นายอำเภอจะนะ เป็นประธานในพิธี ซึ่งพันธุ์สัตว์น้ำที่ปล่อยเป็นกุ้งแชบ๊วยจำนวน 2,000,000 ตัว และปลูกต้นโกงกางจำนวน 3,000 ต้น โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างระบบนิเวศให้กับคลองนาทับ