Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

ดร.สมคิด แนะเอสเอ็มอีต้องเร่งพัฒนาและต้องค้าขายผ่านออนไลน์เป็นด้วย

เริ่มโดย สงขลามีเดีย, 22:12 น. วันที่ 18 06 58

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

สงขลามีเดีย

ศาสตราภิชาน ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ชี้ว่า ประเทศไทยต้องพัฒนาเอสเอ็มอี นำองค์ความรู้มาช่วยพัฒนาเอสเอ็มอี เรามียักษ์ใหญ่น้อยมาก เรามีเอสเอ็มอีเต็มไปหมด มีคนตัวใหญ่เข้มแข็งไม่กี่คน นอกนั้นผอมแห้ง และต่อไปต้องค้าขายผ่านเวบไซต์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เชิดชูเกียรติอาจารย์ผู้สอน และนักวิจัย ในวันแห่งคุณค่าสงขลานครินทร์ พร้อม เชิญ ศาสตราภิชาน ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และที่ปรึกษา คสช. ปาฐกถาพิเศษ ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสสุข หัวข้อ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศบนพื้นฐานของสังคมแห่งการเรียนรู้ วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน 2558 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

ศาสตราภิชาน ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ปาฐกถาพิเศษ ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสสุข หัวข้อ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศบนพื้นฐานของสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยชี้ว่าประเทศไทยต้องพัฒนาเอสเอ็มอี นำองค์ความรู้มาช่วยพัฒนาเอสเอ็มอี และต่อไปต้องค้าขายผ่านเวบไซต์

" ประเทศเรา มีปัญหา มีการประมงผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นแรงกดดันจากต่างประเทศเป็นสิ่งที่สั่งสมมานาน รัฐบาลก็พยายามแก้ไขและสามารถชี้แจงได้ ในด้านการเมืองทุกคนได้กลับสู่ชีวิตที่เป็นปกติ นายกรัฐมนตรีก็ได้เรียนทุกคนทราบแล้วว่าประเทศไทยจะก้าวไปสู่โรดแมปที่แน่นอน เพียงแต่ว่าเมื่อมีการทำประชามติ เวลาอาจจะขยับ สิ่งที่ผ่านมาถือว่าเป็นพัฒนาการ บ้านเมืองเราเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ความวุ่นวายทางการเมือง เป็นการพักซักนิดเพื่อแก้ไข เพื่อจะได้ก้าวต่อไปข้างหน้า"

"สิ่งที่เป็นกังวลก็เป็นเรื่องภาวะเศรษฐกิจ ผมจะไม่บอกว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ผมจะพยายามมองจากคนนอก ชี้ให้เห็นว่าสาเหตุและประเด็นสำคัญมันคืออะไรเกี่ยวพันกันอย่างไร ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจมี 4 เครื่องมือ คือ

ปัจจัยที่ 1การส่งออกของประเทศ เศรษฐกิจไทยที่เติบโตต่อเนื่องมา 30-40 ปี คือการส่งออก เป็น 70% ของจีดีพี แปลว่าเครื่องยนต์ใหญ่คือการส่งออก คนส่วนใหญ่ยังยากจนอยู่ การจะผลักดันให้ประเทศพัฒนาไปได้ คือการใช้ปัจจัยภายนอกเป็นตัวเสริม ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจญี่ปุ่นตกต่ำ เศรษฐกิจของอเมริกาส่งสัญญานดีขึ้นในช่วงเวลานี้ อุปสงค์จึงเพิ่มขึ้น สินค้าของเราราคายังเสียเปรียบคู่แข่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มทำให้ค่าเงินถูกลง เป็นผลดีกับการส่งออกของเรา สินค้าส่งออกของเราส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร ต้องถามตัวเองว่าสินค้าเกษตรของเราจะแข่งขันได้ไม๊ การพยายามเปิดตลาดใหม่ๆช่วยได้

การทำให้ค่าเงินถูกลงเป็นสิ่งที่ช่วยได้ เพราะสินค้าเกษตรของเราเน้นที่ราคา สินค้าการส่งออกของเราแข่งที่ต้นทุน ไม่ได้แข่งที่มูลค่า หรือนวัตกรรม สิ่งทอของเราที่อาศัยค่าแรงราคาถูก เมื่อไปเจอสิ่งทอจากต่างประเทศซึ่งมีนวัตกรรมใหม่ก็สู่เขาไม่ได้ ค่าแรงของเราก็สูงกว่าประเทศอื่นๆ ก็เริ่มจะแข่งไม่ได้ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ก็เริ่มมีการขยับขยายย้ายฐาน ซัมซุงย้ายฐานไปเวียตนามในเรื่องของเทเลคอม ทยอยย้ายฐานไป

ก่อนนี้เราผลิตอะไรได้ ก็ส่งออกหรือขายไป เพราะจ้างแรงงานถูกๆ ไม่สนใจการสร้างแบรนด์ โลกทุกวันนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไป กรณีของอาลีบาบาเวบไซต์ที่ขายสินค้าทั่วโลก การดีไซน์รูปแบบสินค้า การสร้างเวบไซต์ การสร้างแบรนด์ เป็นวิธีการสร้างความสามารถในการส่งออก

ปัจจัยที่สอง การบริโภคภายในประเทศ ประเทศของเราขณะนี้ อำนาจซื้อไม่เพียงพอ ต้องใช้เวลาซักพักกว่าจะยกระดับขึ้นมา การเติบโตต้องมาจากภายใน ทำให้ฐานเศรษฐกิจเข้มแข็ง ราคาพืชผลอิงกับตลาดโลก การทำโซนนิ่ง การทำให้ชาวนา ชาวไร่ เปลี่ยนผลผลิต มันทำได้ยาก เพราะมันเป็นวิถีชีวิต ต้องไปช่วยเขา นายกรัฐมนตรีก็ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูแล ตราบใดที่ความไม่เท่าเทียมกันยังมีอยู่สูง ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้และรายจ่าย สิ่งเหล่านี้ทำให้รากหญ้าไม่แข็งแกร่ง เรื่องของการให้เติบโตจากภายใน สร้างรายได้ ลดรายจ่าย หนี้ครัวเรือน ต้องการกระจายอำนาจการบริหารลงไปสู่ภูมิภาค การใช้จ่ายที่เน้นการปฎิรูปเกษตร การปฎิรูปการศึกษา การปฎิรูปท้องถิ่น ต้องวางงบประมาณในระยะยาว

ปัจจัยที่ 3 โครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างพื้นฐานที่เรามียังไม่เพียงพอ ต้องพยายามสร้างให้เร็ว มาเลเซียเร่งพัฒนา สมัยอดีตนายกรัฐมนตรี มหาเธร์ โมฮัมหมัด

ปัจจัยที่ 4 ตัวสุดท้ายคือการลงทุนของภาคเอกชน ต้องถามตัวเองว่าทำไม การลงทุนจากต่างประเทศที่ผ่านมาค่อนข้างเบาบาง นักลงทุนต้องการความแน่นอนทางการเมือง ถ้าเราต้องการต่างชาติมาลงทุน เรื่องของการไม่มีคอรัปชั่น เรื่องของประสิทธิภาพของราชการ เรื่องของตลาด สภาพแรงงาน ต้องพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

สิ่งที่จะช่วยเราได้มากคือเศรษฐกิจพิเศษ คนจะมาลงทุนเขาดู ซัพพลายเชน (คือการรวมกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การแยกวัตถุดิบไปจนกระทั่งถึงเสร็จสิ้นกระบวนการหรือถึงมือลูกค้าที่ใช้สินค้าจริงๆ ได้แก่ การขนส่ง การเก็บสินค้า และการขายสินค้าให้กับลูกค้า) ถ้าหากเมืองไทย เมื่อมาอยู่แล้วเขามีความสามารถขยายเขามาแน่ เราต้องดูว่าอะไรจะจูงใจเขาให้มาที่นี่ ต้องมีคอนเซ็ปของอุตสาหกรรมคือ คลัสเตอร์ (กลุ่มของธุรกิจและสถาบันที่เกี่ยวข้อง มารวมตัวดำเนินกิจการอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน) ถ้าเราต้องการสร้างอาหารแปรรูป เพื่อดึงดูดยักษ์ใหญ่ เพราะว่าเราเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ประเทศเราเคยก้าวกระโดด

ตอนสร้างเขตอุตสาหกรรมที่ระยอง ไม่ใช่แค่คลัสเตอร์ เราต้องมีสถาบันซึ่งเป็นองค์ความรู้ ต้องไปดูที่สิงคโปร์เกาะเล็กๆ คลัสเตอร์ของเขามีมหาวิทยาลัยนันยาง มหาวิทยาแห่งชาติสิงคโปร์ เรื่องของนาโน ฟิล์ม เอายักษ์ใหญ่ของประเทศมาลงที่นั่น มีสิ่งจูงใจนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ มีที่อยู่อาศัยให้ เอาเอสเอ็มอีเข้าไปอยู่เชื่อมต่อระหว่างองค์ความรู้ของเอกชนรายใหญ่ รายย่อย ไม่ใช่แค่สร้างนิคมอุสหกรรม ถ้าเราจะเป็นศูนย์กลางขอเออีซี จะเป็นจุดที่เป็นฮับของอะไรก็แล้วแต่ ความเชื่อมต่อในย่านนี้ต้องผ่านเมืองไทยให้ได้ ทำให้เกิดจุดตัดในเมืองไทย เขตเศรษฐกิจพิเศษที่เชื่อมต่อกันได้ การลงทุนสูง เชื่อมกรุงเทพ ฯ เชียงใหม่ อุดรธานี

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งมา 48 ปี ผู้ก่อตั้งมีวิสัยทัศน์มากเขาหวังมหาวิทยาลัยเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นหลักของท้องถิ่นภาคใต้ การสร้างความเติบโตจากภายใน ต้องพยายามช่วยให้สินค้าของเรามีองค์ความรู้ การยกระดับเอสเอ็มอี เอ็มเอ็มอีต้องมีครีเอทีฟ สามารถเพิ่มทุน เรามียักษ์ใหญ่น้อยมาก เรามีเอสเอ็มอีเต็มไปหมด มีคนตัวใหญ่เข้มแข็งไม่กี่คน นอกนั้นผอมแห้ง คนที่สร้างแบรนด์ต้องมีความรู้ หน้าที่นี้เป็นของมหาวิทยาลัย

ภาคใต้ ซึ่งมีผลไม้มากที่สุด อาหารทะเล การแปรรูป สิ่งเหล่านี้ใครจะเป็นหลัก จังหวัดภาคใต้มีปัญหา ถามว่าในอีก 50 ปี ข้างหน้าบทบาทของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถ้ามีเศรษฐกิจพิเศษที่สะเดา เรื่องยาง ม.สงขลานครินทร์ ต้องเป็นเสาหลัก เพราะเราเป็นเจ้าที่ ต้องมีส่วนร่วมกับการยกระดับ การพัฒนา ถ้าเราต้องการสร้างrubber city ต้องออกไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา ต้องสอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทย สร้างความเข้มแข็งของรากหญ้า บทบาทของมหาวิทยาลัยไม่ใช่ได้ การอันดับระดับโลก"
สนับสนุนโดย
- กฟผ.โรงไฟฟ้าจะนะ www.chana.egat.co.th/home
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา www.skru.ac.th
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy