Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - สงขลามีเดีย

#31
อพท. จับมือ 5 สถาบันการศึกษา ร่วมหนุนเสริมการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ระยะ 4 ปี หวังยกระดับการบริหารจัดการพื้นที่สู่เกณฑ์มาตรฐานสากล GSTC UCCN และ CBT Thailand ชูจุดขายวิถีชีวิตและวัฒนธรรม พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวศักยภาพแห่งใหม่ ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวของไทย
    นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. เปิดเผยว่า วันนี้ (18 กันยายน 2566) อพท. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยลงนามร่วมกับ 5 สถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการสร้างกลไกการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้กับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สถาบันวิชาการ องค์กรชุมชน และองค์กรภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2567- พ.ศ. 2570) 
  วัตถุประสงของความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามแนวทางของ  สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council) และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมกันให้ครอบคลุมรายละเอียดตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) การร่วมกันขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาเมืองที่มีศักยภาพสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network : UCCN) และกำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันให้ครอบคลุมรายละเอียดตามใบสมัครของยูเนสโก รวมถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและกำหนดบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกันให้ครอบคลุมตามแนวทางมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT Thailand)
    ภายใต้ความร่วมมือนี้ได้ตกลงขอบเขตการทำงานร่วมกัน โดย อพท. และ 5 มหาวิทยาลัย จะร่วมกันประสานงานการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการใช้ศักยภาพของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ อปท. และชุมชนท้องถิ่นจัดให้มีการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ส่งเสริมการจัดทำข้อมูลสารสนเทศและการวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมไปถึงส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่แห่งท้องถิ่นให้ดีขึ้น
    ทั้งนี้ อพท. และมหาวิทยาลัย จะร่วมกันกำหนดรายละเอียดแผนงานและโครงการตามแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ ร่วมกันสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ  ภายใต้งบประมาณที่แต่ละฝ่ายได้รับจัดสรรและภารกิจของหน่วยงาย โดยมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษาและบุคลากร มาร่วมดำเนินงานในแต่ละโครงการ ที่อยู่ในพื้นที่พิเศษหรือพื้นที่เป้าหมายของ อพท.  ภายใต้ความเห็นชอบร่วมกัน  นอกจากนั้น ยังตกลงร่วมกันที่จะร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนรายละเอียดการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ภายใต้บริบทและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงานอีกด้วย   
    อย่างไรก็ตาม พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ครอบคลุมพื้นที่ใน 15 อำเภอของ 3 จังหวัด คือ จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันอยู่ในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ระยะ 5 ปี มีเป้าหมายยกระดับเมืองที่มีความพร้อมให้เข้าสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก และส่งเสริมให้แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่มีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนำไปสู่การเสนอเข้ารับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ Green Destinations Top 100 Stories
#32
มรภ.สงขลา จัดพิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการขับเคลื่อนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ฯ ปีงบประมาณ พ.ศ.2567             
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการกับคณบดีและผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุมอรัญ ธรรมโน ชั้น 8 อาคารอำนวยการ มรภ.สงขลา เพื่อให้มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ฯ และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณบดี ผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน
#33
วันที่ 7 กันยายน 2566 นายเขมญาติ ยมานันตกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าจะนะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานโรงไฟฟ้าจะนะ ร่วมจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และ ปลูกป่าชายเลน ครั้งที่ 2 ณ บริเวณบ้านท่ายาง หมู่ 3 ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมีนายกฤชณัทท พลรัตน์ นายอำเภอจะนะ เป็นประธานในพิธี ซึ่งพันธุ์สัตว์น้ำที่ปล่อยเป็นกุ้งแชบ๊วยจำนวน 2,000,000 ตัว และปลูกต้นโกงกางจำนวน 3,000 ต้น โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างระบบนิเวศให้กับคลองนาทับ
#34
มรภ.สงขลา เข้าร่วมเทศกาลทุเรียนพื้นบ้าน อนุรักษ์ผลไม้ท้องถิ่นใต้ คลินิกเทคโนโลยีลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ร่วมขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์สงขลามหานครทุเรียนพื้นบ้าน
           มรภ.สงขลา เข้าร่วมกิจกรรมเทศกาลทุเรียนพื้นบ้าน อนุรักษ์ผลไม้ท้องถิ่นใต้ ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ คลินิกเทคโนโลยีนำทีมลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล พร้อมร่วมสนับสนุนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สงขลามหานครทุเรียนพื้นบ้าน
          เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำโดย รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ น.ส.ปัณฑิตา โชติช่วง ผู้อำนวยการกองกลาง พร้อมด้วย รศ.ดร.คมวิทย์  ศิริธร รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผศ.อภิชาติ  พันชูกลาง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ ผศ.ขนิษฐา หมวดเอียด รองคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร
น.ส.เกศสุพร มากสาขา หัวหน้าสำนักงาน สถาบันวิจัยฯ และ น.ส.รัตนาภรณ์ กาญจนเพ็ญ ผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี ได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมเทศกาลทุเรียนพื้นบ้านเวทีที่ 5 "กินเรียนบ้าน สืบสาน 9 ภูมิปัญญา นำสงขลาสู่มรดกโลก" ณ ศูนย์เรียนรู้ครูภูมิปัญญาเกษตรธรรมชาติธาตุ 4 ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
           กิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกวดทุเรียนบ้านและเสวนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์สายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา ซึ่งที่ผ่านมาคลินิกเทคโนโลยี มรภ.สงขลา ได้มีการลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับช่วยในการส่งเสริมอนุรักษ์สายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านของจังหวัดสงขลา นอกจากนั้น ยังร่วมกับจังหวัดสงขลาในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สงขลามหานครทุเรียนพื้นบ้านต่อไป
#35
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ 3 สถานประกอบการ ผนึกกำลังพัฒนาการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
          คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ 3 สถานประกอบการ ผนึกกำลังพัฒนาการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน เดินหน้าสร้างเครือข่ายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกระดับ ควบคู่พัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม พร้อมออกใบประกาศนียบัตรให้ผู้เรียนสำหรับใช้เป็นมาตรฐานปฏิบัติงาน
           วันที่ 10 สิงหาคม 2566 รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานในสถานประกอบการ ระหว่างคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา นำโดย ดร.กันตภณ มะหาหมัด คณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กับสถานประกอบการ 3 แห่ง ได้แก่ 1. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา 2. บริษัท เอ็น.โอ.พี. สุวรรณซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 3. บริษัท เซาท์เทอร์น ซีฟูด โปรดักส์ จำกัด วัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม พัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่องค์การที่มีสมรรถนะสูง และสร้างเครือข่ายความร่วมมือการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกระดับ
           นอกจากนั้น ยังเป็นการประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการแก่สังคม ให้สามารถผลิตและพัฒนากำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสถานประกอบการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน ด้านสหกิจศึกษาและการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน เพื่อส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและสถานประกอบการ ในการใช้อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนร่วมกันในอนาคต พัฒนาการเรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพจากการไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ระบบการทำงาน
             ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องตามหลักและทฤษฎีของสถานประกอบการ โดยมหาวิทยาลัยและสถานประกอบการจัดให้มีการเรียนการสอนที่ได้คุณภาพ และสามารถพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ออกใบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เรียนหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานต่อไปได้
#36
หลักสูตรประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือคณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ทักษิณ ผนึกกำลัง 4 มหาวิทยาลัยเครือข่ายในภาคใต้ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอน การวิจัย ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
            เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ดร.รัชชพงษ์ ชัชวาลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำทีมคณาจารย์หลักสูตรประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม นำโดย ผศ.วสิน ทับวงษ์ ประธานหลักสูตรฯ และคณาจารย์ในหลักสูตร ได้แก่ ดร.กัลย์วดี เรืองเดช ผศ.ปิยกุล จันทบูรณ์ อ.นันทยา ศรีวารินทร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณโดยมี ผศ.ดร.ปาริฉัตร ตู้ดำ คณบดี ร่วมทำความร่วมมือกับเครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยาและสังคม วิทยาภาคใต้
            นอกจากนั้น ยังมีเครือข่ายความร่วมมืออีก 4 หน่วยงานคือ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการเรียนการสอน การวิจัย การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
#37
กฟผ.จะนะ ร่วมพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระบรมราชนนีพันปีหลวง
วันที่ 12 สิงหาคม 2566 นายเขมญาติ   ยมานันตกุล ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าจะนะ พร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงานโรงไฟฟ้าจะนะ ร่วมกิจกรรมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวงเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566  ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และถวายพระพรชัยมงคล  ณ หอประชุมศาลาประชาคมอำเภอจะนะ  โดยมีนายกฤชณัทท  พลรัตน์  นายอำเภอจะนะ เป็นประธานในพิธี   ซึ่งมีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการประจำส่วนกลาง หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำหน่วยกำลังในพื้นที่  นายกเทศมนตรีทุกแห่ง  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล  องค์กรเอกชน  เครือข่ายภาคประชาชน  ปลัดอำเภอ  และกำนันผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
#38
มรภ.สงขลา จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์' 66 "อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก" สืบสานเอกลักษณ์รากแก้วของแผ่นดิน สะท้อนวิถีถิ่นใต้
           มรภ.สงขลา จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2566 ชูจุดเด่น "อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก" จัดเต็มศิลปะการแสดงภาคใต้อย่างโนรา หนังตะลุง ลิเกป่า พร้อมเดินหน้ามหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สะท้อนวิถีชีวิตอันดีงาม สืบสานเอกลักษณ์รากแก้วของแผ่นดิน
            เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เป็นประธานในพิธีเปิดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2566 "อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก" จัดพิธีเปิด โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-20 สิงหาคม 2566 ณ บริเวณรอบเกาะลอย มรภ.สงขลา วัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปะและวัฒนธรรม
            ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายกสภา มรภ.สงขลา กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นรากเหง้าของสังคม ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติ วัฒนธรรมจึงเป็นรากเป็นฐานที่แสดงถึงวิถีชีวิตอันดีงาม ที่เป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น วัฒนธรรมเป็นพื้นฐานของอารยธรรม ซึ่งหมายถึงความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี ทว่า ในกระแสแห่งการพัฒนาเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะเทคโนโลยี ทำให้วัฒนธรรมและอารยธรรมนานาชาติหลั่งไหลและแทรกซึมเข้าถึงกันอย่างรวดเร็ว สถาบันการศึกษาจึงต้องสถาบันหลักในการธำรงรักษาวัฒนธรรมและอารยธรรมของชาติ พร้อมทั้งหาแนวทางในการส่งเสริมให้เลือกปรับเปลี่ยนอย่างชาญฉลาดในการรักษาความเป็นชุมชน สังคมชาติ และพัฒนาชีวิตอย่างสอดคล้องกับสังคมโลก
             การจัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2566 จึงเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้ร่วมกันศึกษา ทำนุบำรุง และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอย่างหลากหลายรูปแบบ ซึ่งหากเป็นไปได้อยากให้เพิ่มความถี่ในการจัดงานด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมให้มากขึ้น จากเดิมที่จัดปีละครั้งอาจจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน เพราะแม้แต่ชาวต่างชาติก็ชื่นชมศิลปวัฒนธรรมอันงดงามของไทย ดังจะเห็นได้จากส่วนหนึ่งในการจัดงานครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีวัฒนธรรมที่หล่อหลอมมาอย่างยาวนานจนเป็นอัตลักษณ์ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของคนภาคใต้ เช่น วัฒนธรรมด้านอาหาร การแสดงพื้นบ้าน โนรา หนังตะลุง ลิเกป่า และอื่นๆ อันจะเป็นช่องทางให้นักศึกษาและประชาชนได้มองเห็นช่องทางในการเลือกสรรนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้ต่อไป
            ด้าน รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าวว่า มรภ.สงขลา เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจในการส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสานและสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นและของชาติ โดยได้จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2531 บัดนี้ได้จัดมาเป็นเวลายาวนาน 35 ปี กลายเป็นต้นแบบการจัดงานทางวัฒนธรรมของหน่วยงานต่างๆ อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งการจัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์นอกจากเพื่อส่งเสริมภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในลักษณะต่างๆ อาทิ การคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นด้านด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น "ปิตาภรณ์แผ่นดิน" การแสดงของเยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ การจัดแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน 4 ภาคของประเทศไทย พิธีบวงสรวงและสักการะทวดช้าง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาว มรภ.สงขลา และชาว ต.เขารูปช้าง มหกรรมหนังตะลุง "หนังดาวรุ่ง ตะลุงราชภัฏ"
            นอกจากนั้น ยังมีการประกวดทำอาหารพื้นถิ่น สำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แกงสมรม ขนมต้ม และเต้าคั่ว (สลัดทะเลสาบสงขลา) กิจกรรมสาธิตพิธีกรรมโนราโรงครู ซึ่งบูรณาการร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา นิทรรศการภาพถ่าย "โนรา มรดกภูมิปัญญาของมนุษยชาติ" และ "แหล่งโบราณคดีในจังหวัดสงขลา" นิทรรศการชุมชนต้นแบบ มรภ.สงขลา นิทรรศการและการสาธิตผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม การแสดงและจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและสินค้าทั่วไป โดยการจัดงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนด้วยดีจากเครือข่ายภาครัฐและเอกชน
#39
ทรงพระเจริญ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล
พนักงาน-เจ้าหน้าที่ และพสกนิกรชาวเทศบาลเมืองคอหงส์
#40
ทรงพระเจริญ

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่า
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

#PSU
#PSUConnext
#มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
#41
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา เปิดทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 รับสมัครตั้งแต่บัดนี้-31 ก.ค. 6
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา เปิดทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 พร้อมออกใบประกอบวิชาชีพจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้-31 ก.ค. 2566
หน่วยทดสอบความรู้ความสามารถสาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 เพื่อออกใบประกอบวิชาชีพจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน เอกสารประกอบการสมัคร ประกอบด้วย 1. ใบสมัคร พร้อมรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป 2. สำเนาวุฒิการศึกษา หรือ หนังสือรับรองการทำงาน 1 ฉบับ 3. สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ 4. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
ผู้ประกอบอาชีพช่างไฟฟ้าและประชาชนทั่วไป ค่าสมัคร 500 บาท นักศึกษา มรภ.สงขลา ค่าสมัคร 250 บาท ผู้สนใจสามารถยื่นใบสมัครและชำระค่าสมัคร ณ ห้องสำนักงานคณบดี ชั้น 2 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา ได้ตั้งแต่บัดนี้-31 กรกฎาคม 2566 ลิงก์รับสมัคร : https://me-qr.com/clGHkQ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายนราวุธ ทองคำ โทร. 08-6693-6468 หรือ 0-7426-0270
#42
วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 นายจิตวัต วงศ์วาสนา  หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าจะนะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงานโรงไฟฟ้าจะนะ ร่วมสนับสนุนรถมินิไฟฟ้าเพื่อต้อนรับนายเอกชัย  เลิศวิบูลย์ลักษณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา  ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมด้วยคณะกรรมการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2566 ประเภท"ตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" โดยมีนายกฤชณัทท พลรัตน์ นายอำเภอจะนะกล่าวต้อนรับคณะกรรมการ  และมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมอไทร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในตำบลท่าหมอไทร รวมถึงหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
#43
มรภ.สงขลา นำ นศ. สร้างบ้านปลา-ปลูกเตยทะเล ช่วยชุมชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
มรภ.สงขลา นำนักศึกษาลงพื้นที่บ้านบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว จับมือชุมชนสร้างบ้านปลา(ซั้งกอ) ควบคู่ปลูกเตยทะเล แก้ไขปัญหาขยะ หวังมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มพื้นที่บริเวณชายหาด
             เมื่อวันที่  1 กรกฎาคม 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดกิจกรรมวิศวกรสังคม เรื่อง "การสร้างบ้านปลา (ซั้งกอ)" ณ หาดบ่ออิฐ หมู่ที่ 8 ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดย อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มรภ.สงขลา พร้อมด้วย อาจารย์จิราภรณ์ กวดขัน ผู้ช่วยอธิการบดี นายอาริยะวัฒน์ ชำนาญกิจ นายกองค์การนักศึกษา ภาคปกติ และนักศึกษา มรภ.สงขลา ร่วมกับคนในชุมชนร่วมกันสร้างบ้านปลา (ซั้งกอ) และทดลองปลูกเตยทะเล เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล เพิ่มพื้นที่บริเวณชายหาด สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ และแก้ไขปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ นอกจากนั้น ยังได้ช่วยกันเก็บขยะรอบหาดบ่ออิฐ โดยมุ่งหวังให้ให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลมีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำการประมง และชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล
            ในการนี้ นายยุดี หมัดเจริญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ตำบลเกาะแต้ว ได้บรรยาย เรื่อง ขั้นตอนการสร้างบ้านปลา (ซั้งกอ) และนำนักศึกษาฝึกปฏิบัติทำบ้านปลา เนื่องจากปัจจุบันพบว่าแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน (บ้านปลาหรือซั้งกอ) เกิดการเสื่อมโทรมและชำรุดไปตาม ส่งผลกระทบให้สัตว์น้ำมีพื้นที่หลบซ่อนตัวในช่วงวัยตัวอ่อนไม่เพียงพอ และพันธุ์สัตว์น้ำมีจำนวนลดน้อยลง ดังนั้น การจัดสร้างซั้งกอและการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่เขตอนุรักษ์ จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งทะเล ให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
            อาจารย์จิรภา คงเขียว รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มรภ.สงขลา กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้ไปอย่างขาดประสิทธิภาพ จึงอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลทั้งต่อต้นทุนการผลิตสินค้าบริการและสร้างผลเสียต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ประมงของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยการใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่อย่างสิ้นเปลืองและล้างผลาญ โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดประเภท เช่น อวนลาก อวนรุน โพงพาง ซึ่งทำให้ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย และสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ยังไม่เจริญพันธุ์ได้คราวละมาก ๆ ทะเลถูกทำร้ายโดยผู้คน ถูกทำลายด้วยเทคโนโลยี หรือความทันสมัยของสังคมโลกยุคใหม่ ทำให้ทะเลไทยทั้ง 2 ฝั่ง รวมทั้งทะเลสาบสงขลาเข้าสู่วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม ปลาเหลือน้อย น้ำเสีย ตื้นเขินเพราะเป็นที่รองรับสิ่งปฏิกูล น้ำเสียจากบ้านเรือน ในชุมชน ตัวเมือง โรงงานอุตสาหกรรมโดยรายรอบบริเวณ
           ด้าน นายอาริยะวัฒน์ ชำนาญกิจ นายกองค์การนักศึกษา ภาคปกติ กล่าวว่า แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน (บ้านปลาหรือซั้งกอ) เกิดการเสื่อมโทรมและชำรุด เนื่องจากได้จัดทำขึ้นในระยะเวลาที่ยาวนาน ส่งผลกระทบให้สัตว์น้ำมีพื้นที่หลบซ่อนตัวในช่วงวัยตัวอ่อนไม่เพียงพอ และพันธุ์สัตว์น้ำมีจำนวนลดน้อยลง การจัดสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนและการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่เขตอนุรักษ์ ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญในการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำตามแนวชายฝั่งทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์น้ำมีพื้นที่หลบซ่อนตัวในช่วงวัยอ่อน ก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารให้แก่ชุมชนในบริเวณนั้นด้วย และช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศที่ถูกทำลายไปให้กลับมาสวยงามมากขึ้น
          อีกทั้งปัญหาขยะในแหล่งน้ำธรรมชาติจัดเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญที่ขาดการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและรูปแบบพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนส่งผลให้ปัญหาขยะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น มีการปล่อยขยะลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติก ซึ่งขยะนั้นส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้ระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญเกิดความเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลกระทบต่อสังคม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ทั้งของสัตว์ทะเลและมนุษย์ที่ได้รับบาดเจ็บจากขยะบริเวณริมชายฝั่ง ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่มีสาเหตุการตายมาจากการกินขยะ ตลอดจนส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
#44
มรภ.สงขลา​ สืบสานประเพณีบายศรีสู่ขวัญ​ รับขวัญน้องใหม่​ ปี​ '66"
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา​จัดกิจกรรมสืบสานศิลป์บายศรี​สู่ขวัญประจำปี 2566"  ขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่จัดขึ้นทุกปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการรับขวัญ​  สร้างขวัญกำลังใจ และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของคนไทย นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงความยินดีกับนักศึกษาใหม่ ที่เข้ามาศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2566 โดยมีผู้บริหาร​ คณาจารย์​ บุคลากร​  และองค์การนักศึกษา​ ภาคปกติ รวมทั้งนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
#45
โรงเรียนสาธิต มรภ.สงขลา คว้า 2 รางวัลประกวดผลงานที่เป็นเลิศ การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  เหรียญทองแดงประเภทการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัย จากผลงาน "การจัดการเรียนรู้เชิงรุก" และเหรียญทองประเภทการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย จากผลงาน "การเรียนรู้แบบโครงงานเปลือกไข่มหัศจรรย์ฯ"
        โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เข้าร่วมประกวดผลงานที่เป็นเลิศ (Best-Practices) การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ของสถานศึกษาและหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยในจังหวัดสงขลา ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ผลปรากฏว่าโรงเรียนสาธิต มรภ.สงขลา ได้รับ 2 รางวัล ดังนี้ 1. ประเภทการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัย ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง โดย นางสาวชนกกมล พร้อมมูล จากผลงาน เรื่อง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยบูรณาการผ่านกิจกรรมการเล่นแบบ Loose parts play 2. ประเภทการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย ได้รับรางวัลเหรียญทอง โดย นางร่มหล่ะ บินอะหลี จากผลงาน เรื่อง การเรียนรู้แบบโครงงานเปลือกไข่มหัศจรรย์เพื่อส่งเสริมทักษะ EF ให้กับเด็กปฐมวัย