Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - hwz2020

#1
มรภ.สงขลา ร่วมออกบูธนิทรรศการและประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "พัฒนาท่องเที่ยวท้องถิ่นใต้อย่างยั่งยืน บนฐานคิดการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์" จัดโดย กองทุุน ววน. จับมือกับ อบก. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างองค์ความรู้ ปูทางสู่ความเติบโตด้านธุรกิจเที่ยวของประเทศ
           ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) พร้อมด้วยนักวิจัยจาก มรภ.สงขลา ร่วมออกบูธนิทรรศการและประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "พัฒนาท่องเที่ยวท้องถิ่นใต้อย่างยั่งยืน บนฐานคิดการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์" ณ โรงแรมลากูน่า แกรนด์ แอนด์ สปา สงขลา เมื่อวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2566 จัดโดยแผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) มีผู้ร่วมเข้างานทั้งจาก สกสว. บพข. มหาวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน วิสาหกิจชุมในพื้นที่ 10 จังหวัดในภาคใต้
           โอกาสเดียวกันนี้ ดร.นราวดี บัวขวัญ ยังได้ร่วมเวทีเสวนา "แนวทางการดําเนินงานของ บพข. เกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวมุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์" ดําเนินรายการ โดย รศ.ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร ประธานผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มท่องเที่ยวไทยไร้คาร์บอน พร้อมด้วยผู้ร่วมวงเสวนานักวิจัย บพข. จากหลายภาคส่วน ได้แก่ รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง และ นายนิพัทธ์พงษ์ ชวนชื่น อุปนายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.)
            นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการเสวนาในประเด็นท่องเที่ยวไทยไร้คาร์บอน : ปรับ ลด ชดเชย บอกต่อ (ภาคใต้) ในหัวข้อ "ท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism) กับการยกระดับการท่องเที่ยวท้องถิ่นปักษ์ใต้" ดําเนินการเสวนาโดย ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยนักวิชาการ นักวิชาชีพ และผู้ประกอบการท่องเที่ยวระดับแนวหน้า ในประเด็น "เจาะตลาด เพิ่มยอดขาย ท่องเที่ยวไทย ไร้คาร์บอน" โดย นายนิพัทธ์พงษ์ ชวนชื่น "กระบี่ : การท่องเที่ยวแบบ Zero คาร์บอน" โดย ผศ.ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ "กระบี่ : ชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก จังหวัดกระบี่" โดย นายชาญฤทธิ์ เพิ่มทรัพย์ ประธานชุมชนท่องเที่ยวแหลมสัก จังหวัดกระบี่ "ภูเก็ต : วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต" โดย นายสมยศ ปาทาน ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต
             การบรรยายพิเศษ "การคํานวณการปล่อยคาร์บอนของบริการการท่องเที่ยว (Product Category Rules : PCR)" โดย นางสาวพวงพันธ์ ศรีทอง วิทยากรพิเศษจาก อบก. ก่อนจะปิดท้ายด้วยการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสรุปประเด็นมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดย ผศ.ดร.จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง นักวิจัยโครงการ
              นายกองเอกพุทธ กฤชคงพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ถือเป็นพื้นที่สำคัญในการนำเสนอ การสร้างความเข้าใจและทักษะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนแผนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย รวมถึงการจัดนิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้อย่างบูรณาการ เพื่อการท่องเที่ยวไทยไร้คาร์บอนในปี 2564 และ ปี 2565 ร่วมกัน ทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สำคัญและมีประสิทธิภาพในด้านการท่องเที่ยวมุ่งสู่เป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์มากยิ่งขึ้น โดยหวังว่าจะเกิดประโยชน์ในการประกอบธุรกิจเที่ยวของประเทศอย่างแน่นอน
            ด้าน ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และประธานคณะอนุกรรมการ บพข. กล่าวว่า สกสว. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดสรรงบประมาณการวิจัยให้กับหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัย มหาวิทยาลัย/หน่วยงานในระบบ ววน. ราว 180 แห่ง ทั้งยังมีระบบติดตามประเมินผลสำหรับแผนการวิจัยการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. ได้รับสนับสนุนงบประมาณการวิจัยประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี โดยออกแบบแผนงานวิจัยเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยว จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก "แผนการท่องเที่ยวมูลค่าสูง" เน้นการทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อสร้างรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนและคนในภาคการท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ 1. การท่องเที่ยวบนฐานมรดกชาติการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
2. การยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
3. แผนการยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง และกลุ่มที่สอง "แผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ "การยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์