Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

?บารากุ? ภัยร้าย! ภายใต้ความหอมหวาน

เริ่มโดย สงขลามีเดีย, 15:40 น. วันที่ 06 01 57

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

สงขลามีเดีย

ช่วงหลังมักเห็นภาพ วัยรุ่น คนหนุ่มสาว ที่นิยมนั่งตามสถานที่ท่องเที่ยว และมักจะสั่ง บารากุ มานั่งสูบกัน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นแฟชั่น หรือเข้าใจว่า บารากุ นั้นมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ หรือด้วยเหตุผลใดก็ตามที่คิดจะสูบมัน อยากให้ทุกคนลองคิดใหม่ค่ะ เพราะว่าการสูบ บารากุ ที่มีกลิ่นหอมหวานนั้น มันมีภัยร้ายแอบแฝงอยู่ ซึ่งบางทีอาจมากกว่าบุหรี่หลายเท่าตัว

: อันตรายจากบารากุ :

- เมื่อสูบ บารากุ ประมาณหนึ่งเดือน ผู้สูบจะเริ่มติด จะรู้สึกกระสับกระส่ายเล็กน้อย คิดอะไรไม่ออก
- บารากุ มีโทษกว่าบุหรี่ถึง 6 เท่า
- สูบ บารากุ 1 ห่อ เท่ากับ การสูบบุหรี่ถึง 20 มวน
- เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งไม่น้อยไปกว่าการสูบบุหรี่
- ใน บารากุ ประกอบด้วยเป็นสารอันตรายต่อร่างกาย เช่น สารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ ในระดับสูง
- การสูบ บารากุ นาน 45 นาที จะผลิตสารน้ำมันดิน (ทาร์) มากกว่าการสูบบุหรี่ 5 นาที ถึง 36 เท่า
- อาจก่อให้เกิดโรคติดต่อ หากใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น วัณโรค

นอกจากนั้น เรายังได้อ่านเจอข้อมูลจาก นพ.โสภณ เมฆธน ยังกล่าวว่า ?ควันที่ผ่านน้ำลงไป ยังคงมีสารพิษในระดับสูงทั้งคาร์บอนมอนอกไซด์ โลหะหนัก และสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง การสูบบารากุแต่ละครั้งมักจะใช้เวลาสูบนาน ผู้สูบอาจสูดควันมากกว่าผู้สูบบุหรี่ทั่วไปถึง 100 มวน? เลยทีเดียว

ซึ่งถ้าใครที่ชื่นชอบการสูบ บารากุ ล่ะก็ ก็อยากขอให้ลด ละ เลิก กันเถอะนะคะ เพราะร่างกายจะได้ไม่เป็นอันตรายและเสียสุขภาพด้วยค่ะ


ที่มา : sri.cmu.ac.th
สนับสนุนโดย
- กฟผ.โรงไฟฟ้าจะนะ www.chana.egat.co.th/home
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา www.skru.ac.th
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy

สงขลามีเดีย

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ

ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก WHO ระบุถึงการบริโภคยาสูบผ่านน้ำ ได้แก่

1. การใช้เครื่องสูบผ่านน้ำ (Water pipe) เพื่อสูบยาสูบจะเป็นการนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง และเป็นอันตรายต่อผู้อื่นที่สัมผัสควัน

2. แม้ว่าควันจะผ่านน้ำแล้วก็ตาม แต่ยังคงมีสารพิษในระดับสูง รวมถึงคาร์บอนมอนอกไซด์ โลหะหนัก และสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งด้วย นอกจากนี้ ความร้อนในการเผาไหม้ เช่น ถ่านไม้ หรือถ่านอื่นๆ จะทำให้เกิดสารพิษเช่นกัน

3. หญิงตั้งครรภ์หากสูบหรือสัมผัสควัน ทำให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ

4. การสูบโดยใช้ท่อดูดร่วมกันเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่อ เช่น วัณโรค ไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น และมีโอกาสจะติดโรคร้ายแรงในช่องปากด้วย
สนับสนุนโดย
- กฟผ.โรงไฟฟ้าจะนะ www.chana.egat.co.th/home
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา www.skru.ac.th
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy