Main Menu

ข่าว:

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ www.SongkhlaMedia.com เรียนเชิญชาวสงขลาและทุกท่านร่วมขับเคลื่อนเว็บไซต์สาระที่มากกว่าข่าว ร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกันเพื่อสงขลาบ้านเรา

นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี สตรีมุสลิมคนแรกคนชายแดนใต้

เริ่มโดย สงขลามีเดีย, 10:25 น. วันที่ 16 11 65

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

สงขลามีเดีย

นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี สตรีมุสลิมคนแรกคนชายแดนใต้

15 พ.ย.65 คณะรัฐมนตรี มีมติแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย 37 ตำแหน่ง หนึ่งในนั้นคือให้นางพาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นับเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงคนแรกในพื้นที่ชายแดนใต้ วันนี้จึงขอย้อนนำประวัติที่ สวท.ยะลา ได้ลงแนะนำไว้เมื่อปี 2563 มาฝากกัน
   
นับตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค. 63 ที่นางพาตีเมาะ สะดียามู เดินทางมารับตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย 2423/2563 ลงวันที่ 1 ต.ค 63 แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ยังมีมวลชน ขวัญใจจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ เดินทางมาแสดงความยินดีอย่างคึกคัก ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน กับผู้ที่มารับตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา

นางพาตีเมาะ สะดียามู เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 ปัจจุบันอายุ 55 ปี พื้นเพบ้านเดิมอยู่ที่บ้านปีซัด ม.1 ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา เป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา หญิงคนแรกนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ใช่เรื่อง ง่ายต่อ การยอมรับมุสลิมะห์ เป็น "ช้างเท้าหน้า" มาทำหน้าที่ มากบทบาท ด้วยความงามจากจิตใจ ทำให้ ทุกคนยอมรับ รองผู้ว่าฯมุสลิมมะห์ เฮาะกีตอ คนนี้

รับราชการครั้งแรกเมื่อปี 2536 ในสังกัด กระทรวงมหาดไทย จนถึงปัจจุบัน กว่า 30 ปี นับตั้งแต่จังหวัดระนอง จังหวัดยะลา และปัตตานี เป็น ผอ.สำนักบริหารกลาง ศอ.บต. ก่อนจะเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง และรองผู้ว่าฯ จ.นราธิวาสปัจจุบัน ได้มาเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นข้าราชการใจงาม ช่วยเหลือทุกคน จนเป็นที่รัก ที่รู้จัก และคุ้นเคยของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนเป็นอย่างดี

รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า กว่าจะเดินทางมาถึงวันนี้ ต้องมีความพยายามกับความอดทน ความมุ่งมั่น ความตั้งใจ ถือเป็นคุณสมบัติหนึ่งเลย ตั้งแต่การฝ่าฟันการเรียน เพราะ เป็นเด็กบ้านนอก เป็นเด็กเรียน โรงเรียนวัด โรงเรียนตลาด โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา จบการศึกษา รปศ.รุ่น 10 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ. ) และ คณะพัฒนาสังคมและสิงแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นผู้หญิงมุสลีมะห์อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้ชีวิตมาด้วย บริบทของสังคม พหุวัฒนธรรม หล่อหลอมด้วยวิถีชีวิต ที่เราอยู่ที่นี่มาตลอด

ตอนแรกทุกคนมีความหวังว่า น่าจะเป็นรองผู้ว่าในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เรากลับถูกเลือก ถูกกำหนดให้เป็นรองผู้ว่าฯ นอกพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็คือ จังหวัดพัทลุง ถูกตั้งคำถามจาก หลายส่วนว่า อาจถูกกลันแกล้งหรือเปล่า แต่รองมองเป็นพลังบวก มองว่าการได้ไปอยู่นอกพื้นที่ เป็นโอกาสโอกาส คือความท้าทาย และมีบทพิสูจน์ ที่เห็นชัด ว่า พี่น้องประชาชน รักเรา คนพัทลุงรักเรา อันนี้คือผลสำเร็จ ของความเป็นคนจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ไม่ใช่รองคนเดียวแต่เป็นความสำเร็จ ของ พี่น้อง ลูกหลานเราทั้งหมด เราทำได้ เราอยู่ได้ อันนี้คือสิ่งยิ่งใหญ่ที่อัลลอฮ์ ให้กับกะเมาะ ทุกวันนี้คิดตลอดว่า เราเป็นรองผู้ว่าของคนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของพี่น้องทุกคน ไม่ต้องเกรงใจที่จะใช้รองผู้ว่าคนนี้ทำงาน ภายใต้สถานการณ์ความท้าทายมากมาย เราไม่ได้ท้าทายเฉพาะ แค่ปัญหาความไม่สงบอย่างเดียว แต่เรากำลังถูกท้าทายด้วยการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เราต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัว ด้วยการนำหลักของความเป็นอิสลาม มาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานต่อไป

วันหนึ่งจากพัทลุง ได้มีโอกาส เป็นรองผู้ว่านราธิวาส 4 ปีเต็มๆ และสิ่งหนึ่งที่ตั้งใจตอนอยู่ นราธิวาส ตั้งเป้าว่า จะไป ทุกหมู่บ้าน ที่มีอยู่ที่นั้น 267 หมู่บ้าน วันนี้เราไปถึงแทบจะทั้งหมดแล้ว มองว่าเป็นความสำเร็จ ในเป้าหมายของตัวเอง แต่จริงๆแล้วเราอยากเห็นพี่น้องชาวนราธิวาส เดินไปตาม ยุทธศาสตร์เมืองนราธิวาส 20 ปี ที่ได้ร่วมวางโครงสร้างกับผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ทำเรื่องของการสร้างศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะไปเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ อัลกุรอ่าน ที่จะไปเชื่อมโยงกับความเป็นเมืองนราธิวาส อีก 20 ปีข้างหน้าศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นแหล่ง เล่าถึงความเป็นพี่น้องมาลายู ความเป็นพี่น้องพื้นถิ่นที่นี่ ความเป็นพี่น้องชาวจีน ที่เดินทางไกล ขึ้นมาทางฝั่งนี้ ความเป็นพี่น้องคนดั้งเดิม ความเป็นพี่น้องพุทธ ที่เข้ามาเป็นศูนย์กลาง ส่วนที่ 2 เราวางโครงสร้างการพัฒนาเมืองนราธิวาสให้วางการศึกษาออกแบบจากหาดนราทัศน์ ทะลุอ่าวมะนาวและให้เชื่อมโยงสะพานและให้สะพานเป็นพื้นที่ เล่าเรื่องราว วิถี ชีวิตของคน เป็นจุดแลนด์มาร์คที่เช็คอิน อีกจุด ถ้าเราสามารถเปิดเท่ากับเราเปิดเมืองนราธิวาส คนนราธิวาสจะมีอาชีพ นอกจากงานหลัก. และความเป็นเมืองโกลก เป็นศูนย์กลางของระบบการค้าในรูปแบบใหม่ๆ เช่น ระบบออนไลน์ ส่งของจากโกลกไปมาเลเซีย ได้คุยกับนักธุรกิจบ้านเรา มองในเรื่องของ การเปิดศูนย์การค้าออนไลน์ที่อินโด แต่วัตถุดิบเราอยู่ที่นี่ ใช้ระบบโลจิสติกส์ส่ง อันนี้การค้าที่ที่มันตอบโจทย์ ในปัจจุบัน ทั้งนี้บางเรื่องเข้า ครม.แล้ว

วันนี้กลับมาที่ยะลา นั่งคิดว่า เราจะทำยังไง ภาพรวมที่มีความเหมือนกัน ไม่ว่า คน โครงสร้าง ภูมิศาสตร์ หรือสังคม แต่ในความเหมือนกัน พอมาดูปลีกย่อยก็มีความแตกต่าง ง่ายๆ นราธิวาส มีภูเขา น้ำทะเล แต่ยะลาไม่มีทะเล แต่ยะลามีฐานเศษรฐ์กิจ ด้านพืชผลทางเกษตร ที่มีคุณภาพเยอะขึ้น ยะลาเป็นจังหวัดหนึ่ง ที่มีฐานเศษรฐ์กิจ ที่เป็นฐานรากของครอบครัวที่ดี พอไปดูปัตตานีก็มีความแตกต่างอีก ปัตตานี 150 เป็นหมู่บ้านชายทะเลอันนี้คือความละเอียดอ่อนที่เราต้องไปดู ในอนาคต ทีมนราธิวาส โซน ศรีสาคร แว้ง จับมือกับ เบตง บันนังสตา ธารโต เป็นศูนย์กลางการข้นวัตถุดิบการเกษตร โซนนี้อยู่ระยะใกล้กัน ถ้าเรามองว่าลำพังปล่อย ให้เบตงเป็นแค่ การเข้าออกของคน ไปไม่รอด ถ้าเรา สามารถเป็นศูนย์กลางส่งวัตถุดิบเกษตรเราจะไปได้ เวลามองการพัฒนาเราต้องมองเป็นพื้นที่แยกย่อยไป ครัวเรือนจะไม่ได้อะไรจากสิ่งเหล่านี้

เราเป็นคนยะลาการกลับมาครั้งนี้ในฐานนะรองผู้ว่าขอกลับมาดูแลแม่และได้ทำงานด้วยไม่ได้มองในเรื่องของโอกาสการเติบโตของสายงาน เพราะมองว่าการเป็นรองผู้ว่าฯเราสำเร็จแล้ว เราสามารถทำอะไรได้เยอะ โดยที่ไม่ต้องเป็นผู้ว่าฯเราถึงจะทำ กะเมาะจะทำลายกำแพงเหล่านี้ไปหมด แต่มองตรงที่ว่าตัวเองมีโอกาสมีศักดิ์ภาพที่จะเข้าไปทำ แต่ทั้งหมดต้อง ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะการสร้างสรรคสังคมสันติสุข สังคมสงบสุข พี่น้องสื่อมวลชนสำคัญที่สุด เพราะ โลกเปลี่ยน โซเซียล ทำให้ทุกคนเป็นผู้นำสาร เป็นผู้ส่งสาร ที่จะต้องเล่าเรื่องดี ๆ เป็นโอกาสของพวกเรา เป็นพลัง ในอดีตเรามองว่าผู้ส่งสารมีไม่เยอะ แต่วันนี้ไปไกลมากกว่าช่อง ต่าง ๆ ที่เคยมีในอดีต

สิ่งที่น่าจะต้องไปช่วยและส่งเสริม ด้านเศษร์กิจ ๆ ที่มั่นคง ยั่งยืน เป็นเศษรฐ์กิจ ฐานเล็กในหมู่บ้าน ข้างบนล้มแต่ฐานข้างล่างไม่ล้ม โควิด เราไม่ได้ทำให้เราเซมากมาย สถานการณ์ต้มยำกุ้งเมื่อสิบปีที่แล้ว ไม่ได้ทำให้ชาวบ้านกระทบ นี้คือสิ่งที่เราอยู่ได้ ก็เลยมองว่าสถานการณ์โควิดกลับเป็นโอกาสให้พวกเราได้เรียนรู้การปรับตัวสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นและสร้างสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของวิถีคิด ทั้งหมดนี้จะไปไม่ได้ต้องอาศัยแรงหนุน จากทุกภาคส่วน และ กลไกลของผู้หญิงอีกกลไก สำคัญ อีกกลไกหนึ่งที่จะเข้าไปดู คิดว่ากลไกผู้หญิงเป็นกลไกล ที่เต็มไปด้วยความอ่อนโยน อ่อนหนุ่ม เป็นความสวยงาม และเป็นไปด้วยความสร้างสรรค์ การแสดงออกในเชิงของผู้หญิงจะไม่ได้แรงเหมือนผู้ชาย เราใช้คุณสมบัติของผู้หญิงเป็นต้นทุนในการขับเคลือนเสริมเข้าไป ผู้หญิงจะมีบทบาทเยอะ เป็นแม่ เป็นภรรยา การทำมาหากิน ซึ่งผู้ชายเป็นแม่ก็ไม่ได้ ซึ่งมันคือสิ่งสำคัญ ก็ต้องขอโอกาส จากชาวยะลา ได้ให้ความเมตา กรุณาในการ ร่วมมือ การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งการพัฒนาจังหวัดยะลา เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ ของคนจังหวัดชายแดนภาคใต้ และต้องขอบคุณ พี่น้องชาวจังหวัดยะลาที่ได้ให้โอกาส กับลูกหลานคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งให้โลกได้รับรู้ว่า เราทำได้ ผู้หญิงทำได้ มุสลิมะห์ จังหวัดชายแดนภาคใต้สุดยอด เป็นประวัติศาตร์ ของพวกเราทุกคน


#สำนักข่าว #กรมประชาสัมพันธ์ #NNT #ILOVETHAILAND
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : อัมรัน แมหะ
ผู้เรียบเรียง : กนกพร ประสงค์
แหล่งที่มา : สวท.ยะลา
สนับสนุนโดย
- กฟผ.โรงไฟฟ้าจะนะ www.chana.egat.co.th/home
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา www.skru.ac.th
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy

wandee

ขอบคุณคะได้ความรู้มาก ๆ เลยถ้าไม่เข้ามาดูหรือมาอ่านอะไรแบบนี้ก็ไม่มีความรู้เลย อีกอย่างเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่ต้องเรียนรู้ เราคิดมาเสมอว่าต้องรู้สึกต่างๆ ให้มากขึ้น ลึกขึ้น ข้อมูลบางอื่นก้เป็นประโยชน์ ในการนำไปใช้จริงได้ดี มีความเข้าใจอย่างมาก อ่านแล้วรู้สึกซึบซับสิ่งที่ต้องการจะสื่ออกมาได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เราต้องขอบคุณมากๆ อีกครั้งที่แบ่งปันข้อมูลมาให้คะ